วันเสาร์, กุมภาพันธ์ ๒๔, ๒๕๕๐

การแบ่งวงศ์ย่อยกล้วยไม้


Ludisia discolor (Ker-Gawl.) A. Rich. (ท. ว่านร่อนทอง, ว่านน้ำทอง)
(ภาพจาก http://www.malihini.org/images/) เป็นกล้วยไม้ดินที่มีลักษณะค่อนข้างโบราณ แต่ใบมีสีน้ำตาลแดง และมีลวดลายสวยงาม จัดเป็นไม้ใบที่สวยงามชนิดหนึ่ง ขณะที่ดอกมีขนาดเล็กและไม่มีความโดดเด่นแต่อย่างใด

ในที่นี้จะแบ่งกลุ่มกล้วยไม้ตามอนุกรมวิธานก่อน โดยแบ่งเป็น subfamily หรือ วงศ์ย่อย แล้วย่อหน้าถัดไปเป็น tribe subtribe และ genus หรือสกุล โดยจะกล่าวเฉพาะที่พบในธรรมชาติของประเทศไทยเท่านั้น แท้จริงแล้วกล้วยไม้ยังมีสกุลต่างๆ อีกมากกว่านี้มากมายนัก โดยเฉพาะในทวีปอเมริกาใต้ มีกล้วยไม้สกุลที่ต่างไปจากสกุลต่างๆ ในประเทศไทยอีกเป็นจำนวนมาก เช่นกลุ่ม Catleya, Oncidium เป็นต้น ซึ่งแต่ละกลุ่มยังมีอีกหลายสกุลเช่นกัน แต่เพียงเท่าที่มีอยู่ในพื้นที่ประเทศไทย ก็น่าตกใจแล้วว่าทำไมจึงมีกล้วยไม้มากสกุลมากชนิดเหลือเกิน ทั้งที่เรารู้จักกันอยู่เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น

- Subfamily

  • Tribe
    • Subtribe
      • Genus
เนื่องจากการจัดกลุ่มแบบนี้บ่งถึงความสัมพันธ์ระหว่างสกุลต่างๆ ซึ่งน่าสนใจว่าพืชในวงศ์กล้วยไม้หลายสกุล ที่มีความใกล้เคียงกันตามอนุกรมวิธาน สามารถผสมข้ามสกุลได้ การเรียนรู้ว่าสกุลใดอยู่ในกลุ่มเดียวกับสกุลใด ก็จะทำให้ทราบว่ากล้วยไม้สองสกุลนั้นน่าจะผสมข้ามสกุลกันได้ แต่ก็ไม่ใช่ทุกกรณีไป อย่างเช่นสกุล Dendrobium นั้น แทบไม่พบว่าผสมข้ามสกุลกับสกุลอื่นได้่เลย นอกจากสกุล Flickingeria ซึ่งที่จริงก็แทบจะแยกสองสกุลนี้ออกจากกันได้ยาก สำหรับผู้ที่ไม่ชำนาญ

มาดูกันก่อนว่าวงศ์ย่อยของกล้วยไม้มี 6 วงศ์ย่อยอะไรบ้าง ดังนี้

- Apostasioideae

วงศ์ย่อยนี้เป็นกล้วยไม้ดิน มีลักษณะดั้งเดิมหรือโบราณมากที่สุดใน 6 วงศ์ย่อย คือกลีบเลี้ยงและกลีบดอกทั้งหมดมีลักษณะคล้ายกัน ไม่มีกลีบปาก จึงดูคล้ายพืชในวงศ์ลิลลี่ (Liliaceae) เกสรเพศผู้ (stamen) มีจำนวน 3 หรือ 2 อัน เรณูเป็นผง ยอดเกสรเพศเมียมีก้านชูและภายในรังไข่ยังแยกเป็น 3 ช่อง (ต่างจากวงศ์ย่อยอื่นๆ ที่มีเกสรเพศผู้ 1-2 อัน และภายในรังไข่มี 1 ช่อง)

- Cypridedioideae
ส่วนใหญ่เป็นกล้วยไม้ดิน ส่วนใหญ่มีอายุนานหลายปี ไม่ทิ้งใบ ได้แก่พวกรองเท้านารี มีลักษณะเด่นคือกลีบเลี้ยงด้านข้างเชื่อมติดกันเป็นอันเดียว อยู่ที่ด้านล่างของดอก กลีบปากเป็นถุงคล้ายหัวรองเท้า มีเกสรเพศผู้ 2 อัน อยู่ด้านข้างของเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่น ละอองเรณูเหนียว จับเป็นกลุ่ม

- Neottioideae
ส่วนใหญ่เป็นกล้วยไม้ดินเช่นกัน มีเหง้าทอดไปตามผิวดินหรือใต้ดิน หรือมีรากสะสมอาหารอยู่ใต้ดิน ใบบาง เกสรเพศผู้มี 1 อัน ผนังฝาปิดอับเรณูไม่หลุดร่วง กลุ่มละอองเรณูประกอบด้วยกลุ่มละอองเรณูย่อยจับเป็นก้อน มีลักษณะอ่อน ยึดติดกับแผ่นเยื่อเหนียวๆ (visidium) และจะงอยของยอดเกสรเพศเมียมักจะยืดตัวยาว

- Orchidioideae
มีลักษณะใกล้เคียงกับวงศ์ย่อย Neottioideae แต่กลุ่มละอองเรณูมีก้านไปยึดติดกับแผ่นเยื่อบางๆ ส่วนปลายของจะงอยยอดเกสรเพศเมียมักจะยึดตัวอยู่ระหว่างอับเรณู

- Epidendroideae
กลุ่มนี้มีกลักษณะต้นและใบหลากหลายมาก มีทั้งกล้วยไม้อิงอาศัยและกล้วยไม้ดิน มีเกสรเพศผู้ 1 อัน อับเรณูส่วนบนจะแยกออกเป็นฝาปิด (operculum) และร่วงหลุดไปเมื่อเจริญเต็มที่ ละอองเรณูจับเป็นก้อนแน่น แต่ไม่แข็ง ส่วนใหญ่กลุ่มละอองเรณูไม่มีก้าน (stripes)

- Vandoideae
ลักษณะต้น ใบ และจำนวนเกสรเพศผู้คล้ายวงศ์ย่อย Epidendroideae ส่วนใหญ่เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย มีส่วนน้อยที่เป็นกล้วยไม้ดิน กลุ่มละอองเรณูค่อนข้างเหนียวหรือแข็ง อยู่เป็นชุดกลุ่มละอองเรณู มีก้านและมีแป้นยึดก้าน

แม้ว่ากล้วยไม้จะมีหลายวงศ์ย่อยดังที่กล่าวมาแล้ว รวมแล้วมีหลายสิบสกุล แต่ที่นิยมเลี้ยงกันก็มีไม่มากนัก ทั้งนี้เพราะหลายสกุลไม่อาจเลี้ยงในสภาพแวดล้อมปกติได้ เนื่องจากเป็นกล้วยไม้กินซาก บางชนิดดอกไม่สวยงาม หรือมีขนาดเล็กมาก บางชนิดก็มีลำต้นใหญ่เกินไป หรือเลี้ยงยาก จึงมีเพียงบางสกุลเท่านั้นที่นิยมเลี้ยงกันตามบ้าน แต่ในหมู่ผู้นิยมกล้วยไม้ป่าแล้ว ก็มักจะหากล้วยไม้แปลกๆ ที่พอเลี้ยงได้มาเลี้ยงเช่นกัน แต่ถ้าไม่แน่ใจว่ารู้จักกล้วยไม้นั้นๆ ดีพอแล้ว ก็อย่านำมาเลี้ยงดีกว่า เนื่องจากกล้วยไม้บางชนิดมีความจำเพาะต่อสภาพแวดล้อมมาก เช่น บางชนิดชอบแสงแดดจัด บางชนิดชอบอากาศเย็นตลอดปี บางชนิดชอบความชื้นสูง การเลี้ยงกล้วยไม้เหล่านั้นรวมกัน โดยไม่ทราบความแตกต่างที่มันต้องการ จะทำให้บางต้นตายไปอย่างน่าเสียดาย เนื่องจากปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคยไม่ได้

การแบ่งกล้วยไม้เป็น tribe subtribe และสกุลต่างๆ ในวงศ์ย่อยต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว เป็นดังนี้

- Apostasioideae
  • Apostasioideae
      • Apostasia
Cypridedioideae
  • Cypridedioideae
      • Paphiopedilum
- Neottioideae
  • Cranichideae
    • Goodyerinae
      • Anoectochilus
      • Cheirostylis
      • Goodyera
      • Herpysma
      • Ludisia
      • Zeuxine
  • Diurideae
    • Cryptostylidinae
      • Crystostylis
  • Gastrodieae
    • Epipogiinae
      • Epipogium
  • Neottieae
    • Limodorinae
      • Aphyllorchis
  • Nervilieae
      • Nervilia
  • Tropidieae
      • Corymborkis
      • Tropidia
- Orchidioideae
  • Orchideae
    • Orchidinae
      • Brachycorythis
      • Habeneria
      • Hemipilia
      • Pecteilis
      • Peristylus
      • Sirindhornia
- Epidendroideae
  • Arethuseae
    • Bletiinae
      • Acanthephippium
      • Anthogonium
      • Bletilla
      • Calanthe
      • Eriodes
      • Ipsea
      • Mischobulbon
      • Nephelaphyllum
      • Pachystoma
      • Phaius
      • Plocoglottis
      • Spathoglottis
      • Tainia
  • Coelogyneae
    • Coelogyinae
      • Coelogyne
      • Dendrochilum
      • Neogyne
      • Otochilus
      • Panisea
      • Pleione
      • Pholidota
    • Thuniinae
      • Thunia
  • Dendrobiinae
    • Bulbophyllinae
      • Bulbophyllum
      • Cirrhopetalum
      • Drymoda
      • Epicrianthes
      • Ione
      • Mastigion
      • Monomeria
      • Rhytionanthos
      • Sunipia
      • Trias
    • Dendrobiinae
      • Dendrobium
      • Epigeneium
      • Flickingeria
  • Epidendreae
    • Adrorhizinae
      • Polystachya
    • Glomerinae
      • Agrostophyllum
  • Malaxideae
      • Liparis
      • Malaxis
      • Oberonia
  • Misfits
    • Arundinae
      • Arundina
  • Podochileae
    • Eriinae
      • Ceratostylis
      • Eria
      • Porpax
      • Trichotosia
    • Podochilinae
      • Appendicula
      • Podochilus
    • Thelasiinae
      • Phreatia
      • Thelasis
  • Vanilleae
    • Galeolinae
      • Galeola
    • Vanillinae
      • Vanilla
- Vandoideae
  • Cymbidiae
    • Acriopsidinae
      • Acriposis
    • Bromheadiinae
      • Bromheadia
    • Cyrtopodiinae
      • Cymbidium
      • Grammatophyllum
    • Eulophiinae
      • Eulophia
      • Geodorum
    • Thecostelinae
      • Thecopus
      • Thecostele
  • Vandeae
    • Aeridinae
      • Acampe
      • Adenoncos
      • Aerides
      • Arachnis
      • Armodorum
      • Ascocentrum
      • Brachypeza
      • Cleisomeria
      • Cleisostoma
      • Chiloschista
      • Crypopylos
      • Diploprora
      • Doritis
      • Esmeralda
      • Gastrochilus
      • Grosourdya
      • Holcoglossum
      • Hytgrochilus
      • Kingidium
      • Lesliea
      • Luisia
      • Malleola
      • Micropera
      • Microsacus
      • Ornithochilus
      • Papilionanthe
      • Pelatantheria
      • Pennilabium
      • Phalaenopsis
      • Pomatocalpa
      • Pteroceras
      • Renanthera
      • Renantherella
      • Rhynchostylis
      • Robiquetia
      • Sacolabiopsis
      • Sarcoglyphis
      • Schoenorchis
      • Seidenfadenia
      • Smitinandia
      • Staurochilus
      • Stereochilus
      • Taeniophyllum
      • Thrixspermum
      • Trichoglottis
      • Trudelia
      • Tuberolabium
      • Vanda
      • Vandopsis
      • Ventricularia

วันพฤหัสบดี, กุมภาพันธ์ ๒๒, ๒๕๕๐

ที่มาของคำว่ากล้วยไม้

คำว่า กล้วยไม้ ในภาษาไทย น่าจะมาจากสภาพที่ปรากฏของกล้วยไม้บางชนิด ในวงศ์ย่อย Epidendroideae บางชนิดในสกุล Dendrobium หรือสกุล Bulbophyllum ที่ขึ้นเป็นกอแน่น แล้วในหน้าแล้งทิ้งใบจนหมด เห็นแต่ลำลูกกล้วยหรือหัวเทียมที่มีลักษณะป้อมสั้น ดูแล้วเหมือนหวีกล้วย ติดอยู่ตามต้นไม้ ก็เลยเรียกเป็นกล้วยไม้


Dendrobium venustum Teijsm. & Binnend. (ท. ข้าวเหนียวลิง, เอื้องดอกมะขาม) ต้นหรือลำลูกกล้วยเหมือนลูกกล้วยเกาะเป็นกระจุกบนต้นไม้ เป็นที่มาของคำว่ากล้วยไม้

คำนี้ก็นำมาใช้ได้กับกล้วยไม้ชนิดอื่นๆ ที่ไม่ได้มีลักษณะลำต้นแบบนั้นด้วย โดยดูที่ดอกและการเกาะตามต้นไม้แบบเดียวกัน เช่น กล้วยไม้ในวงศ์ย่อย Vandoideae เช่นพวกสามปอยหรือฟ้ามุ่ย

การขยายความหมายเช่นนี้คงเกิดขึ้นทีหลัง เพราะแต่เดิมจริงๆ ในภาษาไทยน่าจะไม่ได้เรียกกล้วยไม้ ในลักษณะเป็นกลุ่มของพันธุ์ไม้อย่างที่เรียกกันในปัจจุบัน แต่เรียกเป็นเอื้อง เช่น เอื้องคำ เอื้องผึ้ง เอื้องสาย หรือเรียกชื่อต้นไม้ชนิดนั้นๆ ตรงๆ เสียมากกว่า การเรียกรวมกลุ่มเช่นนี้น่าจะมาจากแนวคิดฝรั่งจากคำว่า orchid เมื่อฝรั่งหันมานิยมเลี้ยงและสะสมกล้วยไม้ ซึ่งตอนนั้นแนวคิดด้านอนุกรมวิธานหรือ taxonomy ได้เกิดขึ้นแล้ว คือมีการเรียกต้นไม้กลุ่มนี้ว่า orchid แล้วคนไทยก็มานิยมเลี้ยงตาม ก็เลยแปลมาเป็นคำว่า กล้วยไม้ เพราะหากแปล orchid ตามความหมายภาษาอังกฤษคงจะพิลึก เพราะมันแปลว่า ไข่ หรือ อัณฑะ

วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ ๑๘, ๒๕๕๐

อารัมภบท


Rhytionanthos spathulatum (Rolfe ex Cooper) Garay et al. (ท. สิงโตช้อนทอง) ชื่อไทยความหมายดี ช้อนทองเข้ามา ขอให้รวย ขอให้รวย ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ก็หมายถึงช้อนเหมือนกัน

มาเริ่มรู้จักกล้วยไม้ในธรรมชาติของไทยกันครับ ประการแรก ในที่นี้จะพูดถึงชื่อกล้วยไม้ด้วยชื่อวิทยาศาสตร์เป็นหลัก แถมด้วยชื่อพื้นเมือง เนื่องจากกล้วยไม้ไทยมีชื่อหลากหลายมากตามแต่ท้องถิ่น และกล้วยไม้ต่างชนิดกันอาจมีชื่อซ้ำกันได้มาก ซึ่งอาจทำให้คิดถึงกล้วยไม้คนละต้นคนละชนิด สับสนปนเปกันได้ง่าย แม้ชื่อวิทยาศาสตร์เองก็ยังมีการเปลี่ยนชื่อบ้าง เปลี่ยนสกุลบ้าง หรือตั้งชื่อซ้ำกันบ้าง ทำให้เกิดความสับสนได้เช่นกัน แต่ก็ยังดีที่มีการอ้างอิงทางวิชาการชัดเจน ทำให้สืบค้นความเป็นมาได้ง่าย

ในบล็อกนี้ไม่ได้เรียงตามอะไรทั้งนั้น คิดอะไรออกหรือมีอะไรที่อยากจะเขียนก็เขียนเลยครับ ถ้าต้องการเรียงลำดับก็คงต้องดูจากหัวข้อที่ตั้งในแต่ละเรื่อง และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ข้อมูลในที่นี้ไม่ใช่ข้อมูลทางวิชาการที่จะนำไปอ้างอิงได้ครับ เพราะผมไม่ใช่นักวิชาการทางด้านกล้วยไม้หรือพฤกษศาสตร์แต่อย่างใด เป็นเพียงแต่คนเลี้ยงกล้วยไม้คนหนึ่งเท่านั้น

สำหรับกล้วยไม้ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์บนหัวนี้ชื่อ Rhytionanthos spathulatum (Rolfe ex Cooper) Garay et al. หรือชื่อไทยคือ สิงโตช้อนทอง แล้วจะได้เล่าเรื่องไม้ต้นนี้ในคราวต่อๆ ไปครับ