วันเสาร์, กุมภาพันธ์ ๒๔, ๒๕๕๐

การแบ่งวงศ์ย่อยกล้วยไม้


Ludisia discolor (Ker-Gawl.) A. Rich. (ท. ว่านร่อนทอง, ว่านน้ำทอง)
(ภาพจาก http://www.malihini.org/images/) เป็นกล้วยไม้ดินที่มีลักษณะค่อนข้างโบราณ แต่ใบมีสีน้ำตาลแดง และมีลวดลายสวยงาม จัดเป็นไม้ใบที่สวยงามชนิดหนึ่ง ขณะที่ดอกมีขนาดเล็กและไม่มีความโดดเด่นแต่อย่างใด

ในที่นี้จะแบ่งกลุ่มกล้วยไม้ตามอนุกรมวิธานก่อน โดยแบ่งเป็น subfamily หรือ วงศ์ย่อย แล้วย่อหน้าถัดไปเป็น tribe subtribe และ genus หรือสกุล โดยจะกล่าวเฉพาะที่พบในธรรมชาติของประเทศไทยเท่านั้น แท้จริงแล้วกล้วยไม้ยังมีสกุลต่างๆ อีกมากกว่านี้มากมายนัก โดยเฉพาะในทวีปอเมริกาใต้ มีกล้วยไม้สกุลที่ต่างไปจากสกุลต่างๆ ในประเทศไทยอีกเป็นจำนวนมาก เช่นกลุ่ม Catleya, Oncidium เป็นต้น ซึ่งแต่ละกลุ่มยังมีอีกหลายสกุลเช่นกัน แต่เพียงเท่าที่มีอยู่ในพื้นที่ประเทศไทย ก็น่าตกใจแล้วว่าทำไมจึงมีกล้วยไม้มากสกุลมากชนิดเหลือเกิน ทั้งที่เรารู้จักกันอยู่เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น

- Subfamily

  • Tribe
    • Subtribe
      • Genus
เนื่องจากการจัดกลุ่มแบบนี้บ่งถึงความสัมพันธ์ระหว่างสกุลต่างๆ ซึ่งน่าสนใจว่าพืชในวงศ์กล้วยไม้หลายสกุล ที่มีความใกล้เคียงกันตามอนุกรมวิธาน สามารถผสมข้ามสกุลได้ การเรียนรู้ว่าสกุลใดอยู่ในกลุ่มเดียวกับสกุลใด ก็จะทำให้ทราบว่ากล้วยไม้สองสกุลนั้นน่าจะผสมข้ามสกุลกันได้ แต่ก็ไม่ใช่ทุกกรณีไป อย่างเช่นสกุล Dendrobium นั้น แทบไม่พบว่าผสมข้ามสกุลกับสกุลอื่นได้่เลย นอกจากสกุล Flickingeria ซึ่งที่จริงก็แทบจะแยกสองสกุลนี้ออกจากกันได้ยาก สำหรับผู้ที่ไม่ชำนาญ

มาดูกันก่อนว่าวงศ์ย่อยของกล้วยไม้มี 6 วงศ์ย่อยอะไรบ้าง ดังนี้

- Apostasioideae

วงศ์ย่อยนี้เป็นกล้วยไม้ดิน มีลักษณะดั้งเดิมหรือโบราณมากที่สุดใน 6 วงศ์ย่อย คือกลีบเลี้ยงและกลีบดอกทั้งหมดมีลักษณะคล้ายกัน ไม่มีกลีบปาก จึงดูคล้ายพืชในวงศ์ลิลลี่ (Liliaceae) เกสรเพศผู้ (stamen) มีจำนวน 3 หรือ 2 อัน เรณูเป็นผง ยอดเกสรเพศเมียมีก้านชูและภายในรังไข่ยังแยกเป็น 3 ช่อง (ต่างจากวงศ์ย่อยอื่นๆ ที่มีเกสรเพศผู้ 1-2 อัน และภายในรังไข่มี 1 ช่อง)

- Cypridedioideae
ส่วนใหญ่เป็นกล้วยไม้ดิน ส่วนใหญ่มีอายุนานหลายปี ไม่ทิ้งใบ ได้แก่พวกรองเท้านารี มีลักษณะเด่นคือกลีบเลี้ยงด้านข้างเชื่อมติดกันเป็นอันเดียว อยู่ที่ด้านล่างของดอก กลีบปากเป็นถุงคล้ายหัวรองเท้า มีเกสรเพศผู้ 2 อัน อยู่ด้านข้างของเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่น ละอองเรณูเหนียว จับเป็นกลุ่ม

- Neottioideae
ส่วนใหญ่เป็นกล้วยไม้ดินเช่นกัน มีเหง้าทอดไปตามผิวดินหรือใต้ดิน หรือมีรากสะสมอาหารอยู่ใต้ดิน ใบบาง เกสรเพศผู้มี 1 อัน ผนังฝาปิดอับเรณูไม่หลุดร่วง กลุ่มละอองเรณูประกอบด้วยกลุ่มละอองเรณูย่อยจับเป็นก้อน มีลักษณะอ่อน ยึดติดกับแผ่นเยื่อเหนียวๆ (visidium) และจะงอยของยอดเกสรเพศเมียมักจะยืดตัวยาว

- Orchidioideae
มีลักษณะใกล้เคียงกับวงศ์ย่อย Neottioideae แต่กลุ่มละอองเรณูมีก้านไปยึดติดกับแผ่นเยื่อบางๆ ส่วนปลายของจะงอยยอดเกสรเพศเมียมักจะยึดตัวอยู่ระหว่างอับเรณู

- Epidendroideae
กลุ่มนี้มีกลักษณะต้นและใบหลากหลายมาก มีทั้งกล้วยไม้อิงอาศัยและกล้วยไม้ดิน มีเกสรเพศผู้ 1 อัน อับเรณูส่วนบนจะแยกออกเป็นฝาปิด (operculum) และร่วงหลุดไปเมื่อเจริญเต็มที่ ละอองเรณูจับเป็นก้อนแน่น แต่ไม่แข็ง ส่วนใหญ่กลุ่มละอองเรณูไม่มีก้าน (stripes)

- Vandoideae
ลักษณะต้น ใบ และจำนวนเกสรเพศผู้คล้ายวงศ์ย่อย Epidendroideae ส่วนใหญ่เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย มีส่วนน้อยที่เป็นกล้วยไม้ดิน กลุ่มละอองเรณูค่อนข้างเหนียวหรือแข็ง อยู่เป็นชุดกลุ่มละอองเรณู มีก้านและมีแป้นยึดก้าน

แม้ว่ากล้วยไม้จะมีหลายวงศ์ย่อยดังที่กล่าวมาแล้ว รวมแล้วมีหลายสิบสกุล แต่ที่นิยมเลี้ยงกันก็มีไม่มากนัก ทั้งนี้เพราะหลายสกุลไม่อาจเลี้ยงในสภาพแวดล้อมปกติได้ เนื่องจากเป็นกล้วยไม้กินซาก บางชนิดดอกไม่สวยงาม หรือมีขนาดเล็กมาก บางชนิดก็มีลำต้นใหญ่เกินไป หรือเลี้ยงยาก จึงมีเพียงบางสกุลเท่านั้นที่นิยมเลี้ยงกันตามบ้าน แต่ในหมู่ผู้นิยมกล้วยไม้ป่าแล้ว ก็มักจะหากล้วยไม้แปลกๆ ที่พอเลี้ยงได้มาเลี้ยงเช่นกัน แต่ถ้าไม่แน่ใจว่ารู้จักกล้วยไม้นั้นๆ ดีพอแล้ว ก็อย่านำมาเลี้ยงดีกว่า เนื่องจากกล้วยไม้บางชนิดมีความจำเพาะต่อสภาพแวดล้อมมาก เช่น บางชนิดชอบแสงแดดจัด บางชนิดชอบอากาศเย็นตลอดปี บางชนิดชอบความชื้นสูง การเลี้ยงกล้วยไม้เหล่านั้นรวมกัน โดยไม่ทราบความแตกต่างที่มันต้องการ จะทำให้บางต้นตายไปอย่างน่าเสียดาย เนื่องจากปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคยไม่ได้

การแบ่งกล้วยไม้เป็น tribe subtribe และสกุลต่างๆ ในวงศ์ย่อยต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว เป็นดังนี้

- Apostasioideae
  • Apostasioideae
      • Apostasia
Cypridedioideae
  • Cypridedioideae
      • Paphiopedilum
- Neottioideae
  • Cranichideae
    • Goodyerinae
      • Anoectochilus
      • Cheirostylis
      • Goodyera
      • Herpysma
      • Ludisia
      • Zeuxine
  • Diurideae
    • Cryptostylidinae
      • Crystostylis
  • Gastrodieae
    • Epipogiinae
      • Epipogium
  • Neottieae
    • Limodorinae
      • Aphyllorchis
  • Nervilieae
      • Nervilia
  • Tropidieae
      • Corymborkis
      • Tropidia
- Orchidioideae
  • Orchideae
    • Orchidinae
      • Brachycorythis
      • Habeneria
      • Hemipilia
      • Pecteilis
      • Peristylus
      • Sirindhornia
- Epidendroideae
  • Arethuseae
    • Bletiinae
      • Acanthephippium
      • Anthogonium
      • Bletilla
      • Calanthe
      • Eriodes
      • Ipsea
      • Mischobulbon
      • Nephelaphyllum
      • Pachystoma
      • Phaius
      • Plocoglottis
      • Spathoglottis
      • Tainia
  • Coelogyneae
    • Coelogyinae
      • Coelogyne
      • Dendrochilum
      • Neogyne
      • Otochilus
      • Panisea
      • Pleione
      • Pholidota
    • Thuniinae
      • Thunia
  • Dendrobiinae
    • Bulbophyllinae
      • Bulbophyllum
      • Cirrhopetalum
      • Drymoda
      • Epicrianthes
      • Ione
      • Mastigion
      • Monomeria
      • Rhytionanthos
      • Sunipia
      • Trias
    • Dendrobiinae
      • Dendrobium
      • Epigeneium
      • Flickingeria
  • Epidendreae
    • Adrorhizinae
      • Polystachya
    • Glomerinae
      • Agrostophyllum
  • Malaxideae
      • Liparis
      • Malaxis
      • Oberonia
  • Misfits
    • Arundinae
      • Arundina
  • Podochileae
    • Eriinae
      • Ceratostylis
      • Eria
      • Porpax
      • Trichotosia
    • Podochilinae
      • Appendicula
      • Podochilus
    • Thelasiinae
      • Phreatia
      • Thelasis
  • Vanilleae
    • Galeolinae
      • Galeola
    • Vanillinae
      • Vanilla
- Vandoideae
  • Cymbidiae
    • Acriopsidinae
      • Acriposis
    • Bromheadiinae
      • Bromheadia
    • Cyrtopodiinae
      • Cymbidium
      • Grammatophyllum
    • Eulophiinae
      • Eulophia
      • Geodorum
    • Thecostelinae
      • Thecopus
      • Thecostele
  • Vandeae
    • Aeridinae
      • Acampe
      • Adenoncos
      • Aerides
      • Arachnis
      • Armodorum
      • Ascocentrum
      • Brachypeza
      • Cleisomeria
      • Cleisostoma
      • Chiloschista
      • Crypopylos
      • Diploprora
      • Doritis
      • Esmeralda
      • Gastrochilus
      • Grosourdya
      • Holcoglossum
      • Hytgrochilus
      • Kingidium
      • Lesliea
      • Luisia
      • Malleola
      • Micropera
      • Microsacus
      • Ornithochilus
      • Papilionanthe
      • Pelatantheria
      • Pennilabium
      • Phalaenopsis
      • Pomatocalpa
      • Pteroceras
      • Renanthera
      • Renantherella
      • Rhynchostylis
      • Robiquetia
      • Sacolabiopsis
      • Sarcoglyphis
      • Schoenorchis
      • Seidenfadenia
      • Smitinandia
      • Staurochilus
      • Stereochilus
      • Taeniophyllum
      • Thrixspermum
      • Trichoglottis
      • Trudelia
      • Tuberolabium
      • Vanda
      • Vandopsis
      • Ventricularia

ไม่มีความคิดเห็น: