วันพุธ, ตุลาคม ๑๗, ๒๕๕๐
Bulbophyllum picturatum (Lodd.) Rchb.f.
Bulbophyllum picturatum (Lodd.) Rchb.f. 1861 มีชื่อพ้องคือ Cirrhopetalum picturatum Lodd. 1840 (ท. สิงโตพัดเหลือง, สิงโตร่มใหญ่) กลีบดอกสีแดง กลีบเลี้ยงคู่ข้่างเชื่อมติดกันสีเหลือง ขนาดช่อโดยรวมค่อนข้างใหญ่ ปกติดอกเรียงเป็นส่วนของเส้นรอบวงกลม แต่ช่อนี้ดอกถูกเบียดทับทำให้เรียงไม่เป็นระเบียบ
หัวสีเขียวสด รูปไข่แกมรูปรี ภาคตัดขวางเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีร่องตามยาวระหว่างสันเหลี่ยม ขนาด 3.5-4 x 2-2.5 ซม. เรียงตัวบนเหง้าเป็นระยะห่างกันประมาณ 3-6 ซม. ใบรูปขอบขนานแกมรูปรีขนาด 12-15 x 2-2.5 ซม. แผ่นใบหนาเหนียวและค่อนข้างแข็ง ก้านช่อยาวประมาณ 10-15 ซม. ปลายสุดมี 3-10 ดอก เรียงตัวแน่นในแนวรัศมี หากมีดอกจำนวนมากอาจเรียงกันประมาณ 3 ใน 4 ของวงกลม ขนาดดอกประมาณ 3 ซม. กว้าง 0.5 ซม. กลีบเลี้ยงบน กลีบดอก และกลีบปากมีสีแดงคล้ำ ปลายกลีบเลี้ยงบนมีหนวดเส้นบางๆ ยาวประมาณ 0.5-0.6 ซม. ปลายกลีบทั้งคู่มีหนวดสั้นๆ 3-4 เส้น ยาวประมาณ 0.2-0.3 ซม. กลีบเลี้ยงคู่ข้างบิดพับและเชื่อมกันตามแนวด้านบนตลอดความยาว ของกลีบด้านนอกยังม้วนพับตามยาว บางดอกขอบกลีบด้านล่างบางส่วนอาจเชื่อมติดกันด้วย ทำให้ดูกลีบห่อเป็นถุง กลีบเลี้ยงคู่ข้างที่เชื่อมติดกันนี้ยกตัวขึ้น ในแนวเกือบขนานกับพื้น กลีบมีสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว มีจุดประสีแดงคล้ำหนาแน่นบริเวณโคนกลีบ ดอกมีกลิ่นคาวทั้งกลางวันและกลางคืน
แหล่งที่พบ: ป่าดิบทางภาคใต้ของประเทศไทย
ฤดูดอก: กันยายนถึงตุลาคม แต่สามารถออกนอกฤดูได้ถ้าต้นสมบูรณ์ และได้น้ำเพียงพอ
น้ำและความชื้น: ทนน้ำ ชอบอากาศชื้น ทนแล้งไม่ได้นาน
แสงแดด: รำไรถึงปานกลาง 40-60%
กล้วยไม้ชนิดนี้นับว่ามีดอกสวยงามมากชนิดหนึ่ง และช่อดอกทั้งหมดรวมกันแล้วก็มีขนาดใหญ่ จึงนับเป็นกล้วยไม้ที่น่าเลี้ยงมากชนิดหนึ่ง ยกเว้นกลิ่นคาวที่เป็นข้อเสียสำคัญ โดยรวมแล้วเป็นกล้วยไม้ขนาดเล็ก สามารถปลูกเลี้ยงในกระถางหรือเกาะกิ่งไม้ก็ได้ เครื่องปลูกควรอมความชื้นได้ดี แต่ไม่แฉะจนเกินไป เนื่องจากเป็นกล้วยไม้ป่าทางภาคใต้ของไทย ซึ่งมีฝนตกชุกยาวนานตั้งแต่พฤษภาคมถึงธันวาคม และมีฤดูดอกในช่วงปลายฤดูฝน ดังนั้นถ้ารดน้ำและให้ปุ๋ยสมบูรณ์ดี เสมือนว่าเป็นฤดูฝนตลอดทั้งปี ก็จะออกดอกได้มากกว่าหนึ่งครั้งในหนึ่งปี
ถ้าปรับปรุงพันธุ์ให้กลิ่นหายไป หรือผสมกับกล้วยไม้ชนิดอื่นที่มีกลิ่นหอม และทำให้ดอกบานได้นานขึ้นไปอีก ก็น่าจะได้ลูกผสมเป็นกล้วยไม้ที่น่าเลี้ยงเป็นไม้กระถาง สำหรับตั้งในห้องทำงานหรือในบ้านได้ เนื่องจากต้องการแสงค่อนข้างน้อย
Bulbophyllum auratum (Lindl.) Rchb.f.
Bulbophyllum auratum (Lindl.) Rchb.f. 1861 มีชื่อพ้องคือ Cirrhopetalum auratum Lindl. 1840 (ท. สิงโตร่ม) ดอกสวยงามมาก มีสีตั้งแต่ชมพู ถึงเหลืองนวล แต่มีกลิ่นเหม็นเขียวหรือออกคาว ฤดูดอกราวเดือนกันยายนถึงตุลาคม แต่ก็สามารถออกนอกฤดูได้ (รูปนี้ถ่ายในเดือนมีนาคม) ถ้าสภาพต้นสมบูรณ์ดีและได้น้ำเพียงพอ
Bulbophyllum auratum (Lindl.) Rchb.f. (ท. สิงโตร่ม) ดอกสีชมพูอ่อน (ภาพจาก http://www.orchidsonline.com.au/node/7954)
หัวรูปไข่หรือกรวยเหมือนหัวหอม สูงประมาณ 1.5-2 ซม. กว้างประมาณ 1-1.5 ซม. สีเขียว (ดอกสีเหลืองนวล) ถึงเขียวอมม่วง (ดอกสีชมพู) เหง้าระหว่างหัวประมาณ 1-1.5 ซม. ใบรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 10-12 x 1.5 ซม. แผ่นใบหนาเหนียว สีเดียวกับหัว โคนใบเรียวเป็นก้าน
ออกดอกจากโคนหัว ช่อดอกยาวประมาณ 6-10 ซม. ปลายสุดมีดอกเป็นช่อ 6-10 ดอก เรียงตัวแผ่เกือบเป็นวงกลม หากต้นสมบูรณ์ดี มีดอกมาก จะเรียงเป็นวงกลมคล้ายร่ม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5-3 ซม. ขนาดดอกยาว 1.5-2 ซม. กว้างประมาณ 0.8 ซม.
กลีบเลี้ยงคู่ข้างบิดเข้าในและเชื่อมติดกันตามยาว แผ่เป็นแผ่นกว้าง โค้งนูน กลีบเลี้ยงบนรูปกระเปาะ ปลายเรียวแหลม ปลายกลีบมีขนอ่อนๆ ยาวเป็นเส้น กลีบดอกเรียวปลายแหลม ขอบมีขนอ่อนๆ แต่ละกลีบรวมทั้งกลีบเลี้ยงบน และส่วนโคนกลีบเลี้ยงคู่ข้างมีเส้นสีม่วงแดง หรือน้ำตาลแดง ดอกมีทั้งสีชมพูอ่อน ชมพูอมเหลือง จนถึงเหลืองนวล แผ่นกลีบเลี้ยงคู่ล่างมีตุ่มละเอียดสีชมพูกระจาย ซึ่งเป็นต่อมขับเมือกใสๆ เหมือนหยดน้ำเกาะห้อยจากปลายกลีบ ปากเรียวเป็นจงอย สีเหลืองหรือชมพูตามสีของกลีบอื่นๆ ดอกมีกลิ่นเหม็นเขียวหรือคาว กลิ่นแรงตอนกลางวัน ดอกบานนาน 3-4 วัน
แหล่งที่พบ: ป่าดิบทางภาคใต้ของประเทศไทย
ฤดูดอก: ออกดอกปีละ 2 ครั้งในเดือนกันยายนถึงตุลาคม และมีนาคมถึงเมษายน ถ้าต้นสมบูรณ์ และได้น้ำเพียงพอ
น้ำและความชื้น: ทนน้ำ ชอบอากาศชื้น ทนแล้งไม่ได้นาน
แสงแดด: รำไรถึงปานกลาง 40-60%
กล้วยไม้ชนิดนี้นับว่ามีดอกสวยงามมากชนิดหนึ่ง และช่อดอกทั้งหมดรวมกันแล้วก็มีขนาดกลาง ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป จึงนับเป็นกล้วยไม้ที่น่าเลี้ยงมากชนิดหนึ่ง ยกเว้นกลิ่นเหม็นเขียวหรือคาวที่เป็นข้อเสียสำคัญ โดยรวมแล้วเป็นกล้วยไม้ขนาดเล็ก สามารถปลูกเลี้ยงในกระถางหรือเกาะกิ่งไม้ก็ได้ เครื่องปลูกควรอมความชื้นได้ดี แต่ไม่แฉะจนเกินไป เนื่องจากเป็นกล้วยไม้ป่าทางภาคใต้ของไทย ซึ่งมีฝนตกชุกยาวนานตั้งแต่พฤษภาคมถึงธันวาคม และมีฤดูดอกในช่วงปลายฤดูฝน ดังนั้นถ้ารดน้ำและให้ปุ๋ยสมบูรณ์ดี เสมือนว่าเป็นฤดูฝนตลอดทั้งปี ก็จะออกดอกได้มากกว่าหนึ่งครั้งในหนึ่งปี
ถ้าปรับปรุงพันธุ์ให้กลิ่นหายไป หรือผสมกับกล้วยไม้ชนิดอื่นที่มีกลิ่นหอม และทำให้ดอกบานได้นานขึ้น ก็น่าจะได้ลูกผสมเป็นกล้วยไม้ที่น่าเลี้ยงเป็นไม้กระถาง สำหรับตั้งในห้องทำงานหรือในบ้านได้ เนื่องจากต้องการแสงค่อนข้างน้อย
Bulbophyllum auratum (Lindl.) Rchb.f. 1861 has another well known synonym as Cirrhopetalum auratum Lindl. 1840 (ท. สิงโตร่ม). It has beautiful umbellate flower inflorescence. The color ranges from pale pink to pale yellow. Unfortunately, it has unpleasant odor. The flowering period is from September to October (in Thailand) and may be sporadic in some conditions. (This picture was taken in March.)
Bulbophyllum auratum (Lindl.) Rchb.f. (ท. สิงโตร่ม) ดอกสีชมพูอ่อน (ภาพจาก http://www.orchidsonline.com.au/node/7954)
Pale pink flowers of Bulbophyllum auratum (Lindl.) Rchb.f. (ท. สิงโตร่ม) (from http://www.orchidsonline.com.au/node/7954).
หัวรูปไข่หรือกรวยเหมือนหัวหอม สูงประมาณ 1.5-2 ซม. กว้างประมาณ 1-1.5 ซม. สีเขียว (ดอกสีเหลืองนวล) ถึงเขียวอมม่วง (ดอกสีชมพู) เหง้าระหว่างหัวประมาณ 1-1.5 ซม. ใบรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 10-12 x 1.5 ซม. แผ่นใบหนาเหนียว สีเดียวกับหัว โคนใบเรียวเป็นก้าน
ออกดอกจากโคนหัว ช่อดอกยาวประมาณ 6-10 ซม. ปลายสุดมีดอกเป็นช่อ 6-10 ดอก เรียงตัวแผ่เกือบเป็นวงกลม หากต้นสมบูรณ์ดี มีดอกมาก จะเรียงเป็นวงกลมคล้ายร่ม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5-3 ซม. ขนาดดอกยาว 1.5-2 ซม. กว้างประมาณ 0.8 ซม.
กลีบเลี้ยงคู่ข้างบิดเข้าในและเชื่อมติดกันตามยาว แผ่เป็นแผ่นกว้าง โค้งนูน กลีบเลี้ยงบนรูปกระเปาะ ปลายเรียวแหลม ปลายกลีบมีขนอ่อนๆ ยาวเป็นเส้น กลีบดอกเรียวปลายแหลม ขอบมีขนอ่อนๆ แต่ละกลีบรวมทั้งกลีบเลี้ยงบน และส่วนโคนกลีบเลี้ยงคู่ข้างมีเส้นสีม่วงแดง หรือน้ำตาลแดง ดอกมีทั้งสีชมพูอ่อน ชมพูอมเหลือง จนถึงเหลืองนวล แผ่นกลีบเลี้ยงคู่ล่างมีตุ่มละเอียดสีชมพูกระจาย ซึ่งเป็นต่อมขับเมือกใสๆ เหมือนหยดน้ำเกาะห้อยจากปลายกลีบ ปากเรียวเป็นจงอย สีเหลืองหรือชมพูตามสีของกลีบอื่นๆ ดอกมีกลิ่นเหม็นเขียวหรือคาว กลิ่นแรงตอนกลางวัน ดอกบานนาน 3-4 วัน
แหล่งที่พบ: ป่าดิบทางภาคใต้ของประเทศไทย
ฤดูดอก: ออกดอกปีละ 2 ครั้งในเดือนกันยายนถึงตุลาคม และมีนาคมถึงเมษายน ถ้าต้นสมบูรณ์ และได้น้ำเพียงพอ
น้ำและความชื้น: ทนน้ำ ชอบอากาศชื้น ทนแล้งไม่ได้นาน
แสงแดด: รำไรถึงปานกลาง 40-60%
กล้วยไม้ชนิดนี้นับว่ามีดอกสวยงามมากชนิดหนึ่ง และช่อดอกทั้งหมดรวมกันแล้วก็มีขนาดกลาง ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป จึงนับเป็นกล้วยไม้ที่น่าเลี้ยงมากชนิดหนึ่ง ยกเว้นกลิ่นเหม็นเขียวหรือคาวที่เป็นข้อเสียสำคัญ โดยรวมแล้วเป็นกล้วยไม้ขนาดเล็ก สามารถปลูกเลี้ยงในกระถางหรือเกาะกิ่งไม้ก็ได้ เครื่องปลูกควรอมความชื้นได้ดี แต่ไม่แฉะจนเกินไป เนื่องจากเป็นกล้วยไม้ป่าทางภาคใต้ของไทย ซึ่งมีฝนตกชุกยาวนานตั้งแต่พฤษภาคมถึงธันวาคม และมีฤดูดอกในช่วงปลายฤดูฝน ดังนั้นถ้ารดน้ำและให้ปุ๋ยสมบูรณ์ดี เสมือนว่าเป็นฤดูฝนตลอดทั้งปี ก็จะออกดอกได้มากกว่าหนึ่งครั้งในหนึ่งปี
ถ้าปรับปรุงพันธุ์ให้กลิ่นหายไป หรือผสมกับกล้วยไม้ชนิดอื่นที่มีกลิ่นหอม และทำให้ดอกบานได้นานขึ้น ก็น่าจะได้ลูกผสมเป็นกล้วยไม้ที่น่าเลี้ยงเป็นไม้กระถาง สำหรับตั้งในห้องทำงานหรือในบ้านได้ เนื่องจากต้องการแสงค่อนข้างน้อย
Bulbophyllum patens King ex Hook.f.
Bulbophyllum patens King ex Hook.f. (ท. สิงโตก้ามปูแดง) กลีบดอกมีจุดและปื้นสีแดงขนาดใหญ่เกือบเต็มพื้นที่ ดอกเดี่ยวขนาดค่อนข้างใหญ่ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
หัวรูปรีหรือรูปไข่ ยาว 2-3 x 1-1.5 ซม. สีเขียวอ่อนถึงเข้ม มีร่องลึกตามยาว 2 ร่องและร่องตื้นๆ อีกหลายร่อง เหง้ามี 3-8 ข้อ มีขนเส้นยาวรอบข้อและโคนหัว รากออกตามเหง้าตลอดความยาว มีใบรูปรี 1 ใบ ขนาด 1-20 x 3-5 ซม. ใบหนาเหนียว ปลายมนยอดเว้าเล็กน้อย สีเขียวอ่อนถึงเข้ม ขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงที่ได้รับ ดอกเดี่ยวเกิดตามข้อ ก้านดอกยาว 3-4 ซม. ขนาดดอก 3-4 ซม. ส่วนใหญ่ดอกจะอยู่ในสภาพกลับหัว คือในสภาพธรรมชาติ ดอกบานโดยมีกลีบปากอยู่ด้านบน กลีบดอกรูปสามเหลี่ยมเรียวยาว สีพื้นสีนวล มีปื้น แต้ม และจุดสีแดงเลือดหมู ขนาดใหญ่เกือบเต็มพื้นที่กลีบ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ตอนกลางวัน ดอกบานนานประมาณ 2-3 วัน
แหล่งที่พบ: เป็นกล้วยไม้พื้นถิ่นพบตามป่าดิบในภาคใต้ มาเลเซีย อินโดนีเซีย
ฤดูดอก: ออกดอกปีละ 2 ครั้งในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน และเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและความสมบูรณ์ของต้น
น้ำและความชื้น: ทนน้ำ ชอบอากาศชื้น แต่ไม่แฉะ ทนแล้งได้นาน
แสงแดด: ปานกลางถึงจัด 60-100%
กล้วยไม้ชนิดนี้นับว่ามีดอกสวยงามมากชนิดหนึ่ง ดอกมีขนาดค่อนข้างใหญ่ และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ จึงนับเป็นกล้วยไม้ที่น่าเลี้ยงมากชนิดหนึ่ง โดยรวมแล้วนับเป็นกล้วยไม้ขนาดกลางที่น่าเลี้ยง สามารถปลูกเลี้ยงในกระถางหรือเกาะกิ่งไม้ก็ได้ เครื่องปลูกควรอมความชื้นได้ดี แต่ไม่แฉะจนเกินไป เนื่องจากเป็นกล้วยไม้ป่าทางภาคใต้ของไทย ซึ่งมีฝนตกชุกยาวนานตั้งแต่พฤษภาคมถึงธันวาคม และมีฤดูดอกในช่วงปลายฤดูฝน ดังนั้นถ้ารดน้ำและให้ปุ๋ยสมบูรณ์ดี เสมือนว่าเป็นฤดูฝนตลอดทั้งปี ก็จะออกดอกได้มากกว่าหนึ่งครั้งในหนึ่งปี
ข้อเสียคือมีดอกเดี่ยว ก้านดอกสั้น ทำให้ดอกไม่โดดเด่น ใบมีขนาดใหญ่ บดบังดอกเสียมาก และยังชอบแดดค่อนข้างจัด แม้ว่าจะทนสภาพร่มได้ก็ตาม แต่จะทำให้ใบมีขนาดใหญ่มากขึ้น สีเขียวเข้มขึ้น ดังนั้นถ้าปรับปรุงพันธุ์ให้มีดอกเป็นช่อ มีดอกจำนวนมากขึ้น และทำให้ดอกบานได้นานขึ้นไปอีก หรือผสมกับกล้วยไม้ที่ชอบร่ม และมีใบเล็ก ก็น่าจะได้ลูกผสมเป็นกล้วยไม้ที่น่าเลี้ยงเป็นไม้กระถาง สำหรับตั้งในห้องทำงานหรือในบ้านได้ แต่อาจต้องนำออกไปรับแสงภายนอกอาคารเป็นครั้งคราว
ป้ายกำกับ:
Bulbophyllinae,
Bulbophyllum,
Bulbophyllum patens,
southern Thailand
Bulbophyllum monantum (Kze.) J.J.Smith
Bulbophyllum monanthum (Kze.) J.J.Smith (ท. สิงโตนางรำ) เป็นกล้วยไม้สิงโตดอกค่อนข้างเล็ก แต่มีสีเหลืองสดใส มีรูปร่างแปลกตากว่าสิงโตทั่วไปตรงที่กลีบเลี้ยงบนมีขนาดใหญ่กว่ากลีบอืื่นๆ
หัวหรือลำลูกกล้วยรูปทรงกระบอกและผอม ยาว 3-5 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.2 ซม. โคนหัวมีเยื่อเป็นตาข่าย ปลายแตกเป็นขนเส้นเล็กยาว ขึ้นห่างกันบนเหง้ายาว 3-6 ซม. ใบรูปแถบ ขนาด 12-15 x 2.5 ซม. ปลายใบเว้า ดอกเดี่ยวออกจากโคนลำ ก้านยาว 3-5 ซม. ดอกกว้าง 1 ซม. สูง 2 ซม. กลีบสีเหลือง มีจุดประสีน้ำตาลแดง กลีบบนใหญ่กว่ากลืบอื่นฃัดเจน เป็นรูปไข่ปลายแหลม กลีบคู่ล่างโค้งม้วนลง กลีบในขนาดเล็ก ปากใหญ่ ปลายขาว มีติ่งสีขาวที่ปลายทั้งสองข้าง กลางขอบปากเป็นสีน้ำตาลแดง เส้าเกสรอ้วนและสั้นมาก ไม่มีกลิ่น ดอกบานนานประมาณ 5 วัน
แหล่งที่พบ: ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เวียดนาม ภูฏาน อินเดีย จีน
ฤดูดอก: ธันวาคม - มกราคม ในการปลูกเลี้ยงพบว่ายังออกดอกในเดือนพฤษภาคมด้วย
น้ำและความชื้น: ทนแห้งได้ดี เนื่องจากเป็นกล้วยไม้ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งอากาศในหน้าร้อนมักแล้งมาก
แสงแดด: ปานกลางถึงจัด 60-100%
กล้วยไม้ชนิดนี้นับว่ามีดอกสวยงามชนิดหนึ่ง และมีสีเหลืองสดใส ซึ่งหาได้ยากในกล้วยไม้กลุ่มสิงโต แต่มีข้อเสียคือออกดอกเป็นดอกเดี่ยว และดอกมีขนาดค่อนข้างเล็ก แม้จะมีก้านดอกยาว ทำให้ดอกไม่โดดเด่น ใบมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ระยะระหว่างต้นค่อนข้างห่าง และยังชอบแดดค่อนข้างจัด ดังนั้นถ้าปรับปรุงพันธุ์ให้มีดอกเป็นช่อ มีดอกจำนวนมากขึ้น มีกลิ่นหอม และทำให้ดอกบานได้นานขึ้นไปอีก หรือผสมกับกล้วยไม้ที่ชอบร่ม และมีใบเล็ก ก็น่าจะได้ลูกผสมเป็นกล้วยไม้ที่น่าเลี้ยงเป็นไม้กระถาง สำหรับตั้งในห้องทำงานหรือในบ้านได้ แต่อาจต้องนำออกไปรับแสงภายนอกอาคารเป็นครั้งคราว
Dendrobium leonis (Lindl.) Rchb.f.
Dendrobium leonis (Lindl.) Rchb.f. (ท. เอื้องตะขาบใหญ่) ใบคล้ายใบมีด ดอกสีเหลืองนวลถึงน้ำตาลอ่อน มีกลิ่นหอมหวาน
กล้วยไม้สกุล Dendrobium ใน section Aporum หรือกลุ่มเอื้องตะขาบ ซึ่งในประเทศไทยมีหลายชนิด มีลักษณะเด่นที่ใบมีลักษณะแบนคล้่ายใบมีด
ลำต้นแบนและบาง มีโคนกาบใบคลุมตลอด โคนเรียวยาว 10-15 ซม. ส่วนกว้างรวมทั้งใบ 2 ข้างประมาณ 2.5-3 ซม. ขึ้นเป็นกระจุกทอดเอนหรือห้อยลง ใบรูปคล้ายใบมีด หนา ขนาด 1.3-1.5 x 0.8-1.0 ซม. ปลายแหลม เรียงตัวสลับซ้ายขวาชิดกัน แผ่นใบเหนียวและค่อนข้างแข็ง ไม่มีร่องใบ ดอกเดี่ยวออกที่ปลายลำ โดยเกิดในถุงที่เกิดจากกาบหุ้มที่ปลายลำ ดอกกว้าง 1.2-1.5 ซม. ยาว 1.8-2.0 ซม. รูปทรงกระเปาะ เกิดจากคางเส้าเกสรที่ยาว และกลีบเลี้ยงคู่ข้างที่แผ่กว้าง และป่องออกด้านข้าง กลีบเลี้ยงบนรูปใบหอก กลีบเลี้ยงคู่ข้างรูปสามเหลี่ยมเบี้ยว แผ่ตลอดความยาวของคางเส้าเกสร กลีบดอกรูปใบหอกขนาดเล็ก กลีบปากเกาะกับปลายคาง รูปขอบขนาน โค้งลง ปลายกลีบเป็นสามแฉก ขอบปากยกขึ้นเล็กน้อย กลีบมีสีเหลือง มีเส้นสีน้ำตาลส้มตามยาวเล็กน้อย กลีบปากสีเหลืองถึงน้ำตาลแดง ตรงกลางมีเส้นสีเหลือง ขอบสีเหลือง ไม่มีหูกลีบ ดอกมีกลิ่นหอมหวานตอนกลางวัน
แหล่งที่พบ: ทุกภาคของประเทศ
ฤดูดอก: ตลอดปี
น้ำและความชื้น: อยู่ได้ในสภาพต่างๆ กว้างมาก ทั้งแล้งและชื้น
แสงแดด: ปานกลางแดดจัด 40-100% หากถูกแดดแรง ใบจะมีสีออกม่วงแดงสวยงาม ถ้าอยู่ในสภาพค่อนข้างร่ม ใบจะมีสีเขียวเข้ม
กล้วยไม้ชนิดนี้นับว่ามีทรงต้นสวยงามชนิดหนึ่ง และมีจุดเด่นที่ใบมีสีออกม่วงแดงถ้าอยู่ในสภาพแดดจัด ออกดอกเดี่ยวที่ยอด ถ้าปลูกเป็นกอใหญ่จะมีดอกออกสลับกันในแต่ละยอดได้ตลอดปี และยังมีกลิ่นหอมหวานชื่นใจอีกด้วย ดังนั้นถ้าปรับปรุงพันธุ์ให้มีดอกมีขนาดใหญ่และดกขึ้น ก็น่าจะได้ลูกผสมเป็นกล้วยไม้ที่น่าเลี้ยง เป็นไม้ประดับสวนหรือไม้กระถางแขวน เนื่องจากลำต้นทอดเอนหรือห้อยย้อย
ป้ายกำกับ:
Aporum,
Dendrobium,
Dendrobium leonis,
Thailand
Dendrobium linguella Rchb.f.
Dendrobium linguella Rchb.f. (ท. เอื้องดอกมะเขือใต้) ลำต้นเป็นสายห้อยย้อย ดอกสีขาวถึงขาวอมชมพู มีกลิ่นหอมหวาน
กล้วยไม้สกุล Dendrobium ใน section Brevifores หรือกลุ่มเอื้องดอกมะเขือ ซึ่งในประเทศไทยมี 3 ชนิด มีลักษณะเด่นที่กลีบปากเป็นกระพุ้ง ปลายเป็นจงอยแหลม และฝาอับเรณูมีสีม่วงเข้มเด่นชัด
ลำต้นทรงกลม เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่มีสีเทาน้ำตาลอ่อน ซี่งเป็นกาบใบที่หุ้มอยู่ ข้อเห็นได้ชัดเจน ห่างประมาณ 2.5 ซม. ลำมีขนาดยาวประมาณ 30-50 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 ซม. ขึ้นชิดกันเป็นกอ ลำต้นเป็นสายห้อยย้อย ใบสีเขียวรูปใบหอกปนรูปขอบขนาน ยาว 10-12 ซม. กว้าง 2.5 ซม. แผ่แบน ใบบางและอ่อน มักหลุดร่วงไปทั้งลำเมื่ออายุเกิน 1 ปี ดอกออกเป็นช่อตามข้อ ข้อละ 3-6 ดอก ขนาด 1.2-1.7 ซม. สีขาวถึงขาวอมชมพู ปลายกลีบสีชมพู ทุกกลีบห่องุ้ม กลีบค่อนข้างหนาคงรูป กลีบเลี้ยงบนรูปใบโพธิ์ กลีบเลี้ยงคู่ข้างมีฐานกว้างคลุมคางเส้าเกสร ปลายแหลม กลีบดอกรูปใบหอก กลีบปากมีขอบยกห่อเป็นกระเปาะ รองรับเส้าเกสรแต่ไม่หุ้มคลุม ขอบมีขนสีขาวสั้นๆ ในคอปากมีตุ่มเนื้อนูนตรงกลางหนึ่งก่อน และที่ด้านในอีกหนึ่งก้อน ปลายปากเป็นจงอยแหลม เส้าเกสรสีขาว ขอบด้านข้างทั้งสองแผ่เป็นปีก และยื่นแหลมไปด้านหน้า ฝาอับเรณูมีสีชมพูม่วงเข้มเห็นเด่นชัด มีกลิ่นหอมหวานตอนกลางวัน
แหล่งที่พบ: ภาคใต้ และมาเลเซีย
ฤดูดอก: เมษายนถึงพฤษภาคม
น้ำและความชื้น: ชอบอากาศชื้น แต่ทนแล้งได้ดีเช่นกัน
แสงแดด: ปานกลางถึงจัด 40-80% ในธรรมชาติพบขึ้นบนต้นไม้ริมลำธาร มีร่มเงาถึงแดดค่อนข้างจัด
กล้วยไม้ชนิดนี้นับว่ามีดอกสวยงามชนิดหนึ่ง ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ แต่มีหลายช่อทำให้ดูเด่น แต่ดอกค่อนข้างเล็ก และมีกลิ่นหอมหวานชื่นใจ ดังนั้นถ้าปรับปรุงพันธุ์ให้มีดอกมีขนาดใหญ่ขึ้น และออกดอกได้หลายครั้งในหนึ่งปี ก็น่าจะได้ลูกผสมเป็นกล้วยไม้ที่น่าเลี้ยง เป็นไม้ประดับสวนหรือไม้กระถางแขวน เนื่องจากลำต้นเป็นสายห้อยย้อย
ป้ายกำกับ:
Dendrobium linguella,
section Brevifores,
southern Thailand,
Thailand
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)