วันพุธ, ตุลาคม ๑๗, ๒๕๕๐
Bulbophyllum picturatum (Lodd.) Rchb.f.
Bulbophyllum picturatum (Lodd.) Rchb.f. 1861 มีชื่อพ้องคือ Cirrhopetalum picturatum Lodd. 1840 (ท. สิงโตพัดเหลือง, สิงโตร่มใหญ่) กลีบดอกสีแดง กลีบเลี้ยงคู่ข้่างเชื่อมติดกันสีเหลือง ขนาดช่อโดยรวมค่อนข้างใหญ่ ปกติดอกเรียงเป็นส่วนของเส้นรอบวงกลม แต่ช่อนี้ดอกถูกเบียดทับทำให้เรียงไม่เป็นระเบียบ
หัวสีเขียวสด รูปไข่แกมรูปรี ภาคตัดขวางเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีร่องตามยาวระหว่างสันเหลี่ยม ขนาด 3.5-4 x 2-2.5 ซม. เรียงตัวบนเหง้าเป็นระยะห่างกันประมาณ 3-6 ซม. ใบรูปขอบขนานแกมรูปรีขนาด 12-15 x 2-2.5 ซม. แผ่นใบหนาเหนียวและค่อนข้างแข็ง ก้านช่อยาวประมาณ 10-15 ซม. ปลายสุดมี 3-10 ดอก เรียงตัวแน่นในแนวรัศมี หากมีดอกจำนวนมากอาจเรียงกันประมาณ 3 ใน 4 ของวงกลม ขนาดดอกประมาณ 3 ซม. กว้าง 0.5 ซม. กลีบเลี้ยงบน กลีบดอก และกลีบปากมีสีแดงคล้ำ ปลายกลีบเลี้ยงบนมีหนวดเส้นบางๆ ยาวประมาณ 0.5-0.6 ซม. ปลายกลีบทั้งคู่มีหนวดสั้นๆ 3-4 เส้น ยาวประมาณ 0.2-0.3 ซม. กลีบเลี้ยงคู่ข้างบิดพับและเชื่อมกันตามแนวด้านบนตลอดความยาว ของกลีบด้านนอกยังม้วนพับตามยาว บางดอกขอบกลีบด้านล่างบางส่วนอาจเชื่อมติดกันด้วย ทำให้ดูกลีบห่อเป็นถุง กลีบเลี้ยงคู่ข้างที่เชื่อมติดกันนี้ยกตัวขึ้น ในแนวเกือบขนานกับพื้น กลีบมีสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว มีจุดประสีแดงคล้ำหนาแน่นบริเวณโคนกลีบ ดอกมีกลิ่นคาวทั้งกลางวันและกลางคืน
แหล่งที่พบ: ป่าดิบทางภาคใต้ของประเทศไทย
ฤดูดอก: กันยายนถึงตุลาคม แต่สามารถออกนอกฤดูได้ถ้าต้นสมบูรณ์ และได้น้ำเพียงพอ
น้ำและความชื้น: ทนน้ำ ชอบอากาศชื้น ทนแล้งไม่ได้นาน
แสงแดด: รำไรถึงปานกลาง 40-60%
กล้วยไม้ชนิดนี้นับว่ามีดอกสวยงามมากชนิดหนึ่ง และช่อดอกทั้งหมดรวมกันแล้วก็มีขนาดใหญ่ จึงนับเป็นกล้วยไม้ที่น่าเลี้ยงมากชนิดหนึ่ง ยกเว้นกลิ่นคาวที่เป็นข้อเสียสำคัญ โดยรวมแล้วเป็นกล้วยไม้ขนาดเล็ก สามารถปลูกเลี้ยงในกระถางหรือเกาะกิ่งไม้ก็ได้ เครื่องปลูกควรอมความชื้นได้ดี แต่ไม่แฉะจนเกินไป เนื่องจากเป็นกล้วยไม้ป่าทางภาคใต้ของไทย ซึ่งมีฝนตกชุกยาวนานตั้งแต่พฤษภาคมถึงธันวาคม และมีฤดูดอกในช่วงปลายฤดูฝน ดังนั้นถ้ารดน้ำและให้ปุ๋ยสมบูรณ์ดี เสมือนว่าเป็นฤดูฝนตลอดทั้งปี ก็จะออกดอกได้มากกว่าหนึ่งครั้งในหนึ่งปี
ถ้าปรับปรุงพันธุ์ให้กลิ่นหายไป หรือผสมกับกล้วยไม้ชนิดอื่นที่มีกลิ่นหอม และทำให้ดอกบานได้นานขึ้นไปอีก ก็น่าจะได้ลูกผสมเป็นกล้วยไม้ที่น่าเลี้ยงเป็นไม้กระถาง สำหรับตั้งในห้องทำงานหรือในบ้านได้ เนื่องจากต้องการแสงค่อนข้างน้อย
Bulbophyllum auratum (Lindl.) Rchb.f.
Bulbophyllum auratum (Lindl.) Rchb.f. 1861 มีชื่อพ้องคือ Cirrhopetalum auratum Lindl. 1840 (ท. สิงโตร่ม) ดอกสวยงามมาก มีสีตั้งแต่ชมพู ถึงเหลืองนวล แต่มีกลิ่นเหม็นเขียวหรือออกคาว ฤดูดอกราวเดือนกันยายนถึงตุลาคม แต่ก็สามารถออกนอกฤดูได้ (รูปนี้ถ่ายในเดือนมีนาคม) ถ้าสภาพต้นสมบูรณ์ดีและได้น้ำเพียงพอ
Bulbophyllum auratum (Lindl.) Rchb.f. (ท. สิงโตร่ม) ดอกสีชมพูอ่อน (ภาพจาก http://www.orchidsonline.com.au/node/7954)
หัวรูปไข่หรือกรวยเหมือนหัวหอม สูงประมาณ 1.5-2 ซม. กว้างประมาณ 1-1.5 ซม. สีเขียว (ดอกสีเหลืองนวล) ถึงเขียวอมม่วง (ดอกสีชมพู) เหง้าระหว่างหัวประมาณ 1-1.5 ซม. ใบรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 10-12 x 1.5 ซม. แผ่นใบหนาเหนียว สีเดียวกับหัว โคนใบเรียวเป็นก้าน
ออกดอกจากโคนหัว ช่อดอกยาวประมาณ 6-10 ซม. ปลายสุดมีดอกเป็นช่อ 6-10 ดอก เรียงตัวแผ่เกือบเป็นวงกลม หากต้นสมบูรณ์ดี มีดอกมาก จะเรียงเป็นวงกลมคล้ายร่ม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5-3 ซม. ขนาดดอกยาว 1.5-2 ซม. กว้างประมาณ 0.8 ซม.
กลีบเลี้ยงคู่ข้างบิดเข้าในและเชื่อมติดกันตามยาว แผ่เป็นแผ่นกว้าง โค้งนูน กลีบเลี้ยงบนรูปกระเปาะ ปลายเรียวแหลม ปลายกลีบมีขนอ่อนๆ ยาวเป็นเส้น กลีบดอกเรียวปลายแหลม ขอบมีขนอ่อนๆ แต่ละกลีบรวมทั้งกลีบเลี้ยงบน และส่วนโคนกลีบเลี้ยงคู่ข้างมีเส้นสีม่วงแดง หรือน้ำตาลแดง ดอกมีทั้งสีชมพูอ่อน ชมพูอมเหลือง จนถึงเหลืองนวล แผ่นกลีบเลี้ยงคู่ล่างมีตุ่มละเอียดสีชมพูกระจาย ซึ่งเป็นต่อมขับเมือกใสๆ เหมือนหยดน้ำเกาะห้อยจากปลายกลีบ ปากเรียวเป็นจงอย สีเหลืองหรือชมพูตามสีของกลีบอื่นๆ ดอกมีกลิ่นเหม็นเขียวหรือคาว กลิ่นแรงตอนกลางวัน ดอกบานนาน 3-4 วัน
แหล่งที่พบ: ป่าดิบทางภาคใต้ของประเทศไทย
ฤดูดอก: ออกดอกปีละ 2 ครั้งในเดือนกันยายนถึงตุลาคม และมีนาคมถึงเมษายน ถ้าต้นสมบูรณ์ และได้น้ำเพียงพอ
น้ำและความชื้น: ทนน้ำ ชอบอากาศชื้น ทนแล้งไม่ได้นาน
แสงแดด: รำไรถึงปานกลาง 40-60%
กล้วยไม้ชนิดนี้นับว่ามีดอกสวยงามมากชนิดหนึ่ง และช่อดอกทั้งหมดรวมกันแล้วก็มีขนาดกลาง ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป จึงนับเป็นกล้วยไม้ที่น่าเลี้ยงมากชนิดหนึ่ง ยกเว้นกลิ่นเหม็นเขียวหรือคาวที่เป็นข้อเสียสำคัญ โดยรวมแล้วเป็นกล้วยไม้ขนาดเล็ก สามารถปลูกเลี้ยงในกระถางหรือเกาะกิ่งไม้ก็ได้ เครื่องปลูกควรอมความชื้นได้ดี แต่ไม่แฉะจนเกินไป เนื่องจากเป็นกล้วยไม้ป่าทางภาคใต้ของไทย ซึ่งมีฝนตกชุกยาวนานตั้งแต่พฤษภาคมถึงธันวาคม และมีฤดูดอกในช่วงปลายฤดูฝน ดังนั้นถ้ารดน้ำและให้ปุ๋ยสมบูรณ์ดี เสมือนว่าเป็นฤดูฝนตลอดทั้งปี ก็จะออกดอกได้มากกว่าหนึ่งครั้งในหนึ่งปี
ถ้าปรับปรุงพันธุ์ให้กลิ่นหายไป หรือผสมกับกล้วยไม้ชนิดอื่นที่มีกลิ่นหอม และทำให้ดอกบานได้นานขึ้น ก็น่าจะได้ลูกผสมเป็นกล้วยไม้ที่น่าเลี้ยงเป็นไม้กระถาง สำหรับตั้งในห้องทำงานหรือในบ้านได้ เนื่องจากต้องการแสงค่อนข้างน้อย
Bulbophyllum auratum (Lindl.) Rchb.f. 1861 has another well known synonym as Cirrhopetalum auratum Lindl. 1840 (ท. สิงโตร่ม). It has beautiful umbellate flower inflorescence. The color ranges from pale pink to pale yellow. Unfortunately, it has unpleasant odor. The flowering period is from September to October (in Thailand) and may be sporadic in some conditions. (This picture was taken in March.)
Bulbophyllum auratum (Lindl.) Rchb.f. (ท. สิงโตร่ม) ดอกสีชมพูอ่อน (ภาพจาก http://www.orchidsonline.com.au/node/7954)
Pale pink flowers of Bulbophyllum auratum (Lindl.) Rchb.f. (ท. สิงโตร่ม) (from http://www.orchidsonline.com.au/node/7954).
หัวรูปไข่หรือกรวยเหมือนหัวหอม สูงประมาณ 1.5-2 ซม. กว้างประมาณ 1-1.5 ซม. สีเขียว (ดอกสีเหลืองนวล) ถึงเขียวอมม่วง (ดอกสีชมพู) เหง้าระหว่างหัวประมาณ 1-1.5 ซม. ใบรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 10-12 x 1.5 ซม. แผ่นใบหนาเหนียว สีเดียวกับหัว โคนใบเรียวเป็นก้าน
ออกดอกจากโคนหัว ช่อดอกยาวประมาณ 6-10 ซม. ปลายสุดมีดอกเป็นช่อ 6-10 ดอก เรียงตัวแผ่เกือบเป็นวงกลม หากต้นสมบูรณ์ดี มีดอกมาก จะเรียงเป็นวงกลมคล้ายร่ม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5-3 ซม. ขนาดดอกยาว 1.5-2 ซม. กว้างประมาณ 0.8 ซม.
กลีบเลี้ยงคู่ข้างบิดเข้าในและเชื่อมติดกันตามยาว แผ่เป็นแผ่นกว้าง โค้งนูน กลีบเลี้ยงบนรูปกระเปาะ ปลายเรียวแหลม ปลายกลีบมีขนอ่อนๆ ยาวเป็นเส้น กลีบดอกเรียวปลายแหลม ขอบมีขนอ่อนๆ แต่ละกลีบรวมทั้งกลีบเลี้ยงบน และส่วนโคนกลีบเลี้ยงคู่ข้างมีเส้นสีม่วงแดง หรือน้ำตาลแดง ดอกมีทั้งสีชมพูอ่อน ชมพูอมเหลือง จนถึงเหลืองนวล แผ่นกลีบเลี้ยงคู่ล่างมีตุ่มละเอียดสีชมพูกระจาย ซึ่งเป็นต่อมขับเมือกใสๆ เหมือนหยดน้ำเกาะห้อยจากปลายกลีบ ปากเรียวเป็นจงอย สีเหลืองหรือชมพูตามสีของกลีบอื่นๆ ดอกมีกลิ่นเหม็นเขียวหรือคาว กลิ่นแรงตอนกลางวัน ดอกบานนาน 3-4 วัน
แหล่งที่พบ: ป่าดิบทางภาคใต้ของประเทศไทย
ฤดูดอก: ออกดอกปีละ 2 ครั้งในเดือนกันยายนถึงตุลาคม และมีนาคมถึงเมษายน ถ้าต้นสมบูรณ์ และได้น้ำเพียงพอ
น้ำและความชื้น: ทนน้ำ ชอบอากาศชื้น ทนแล้งไม่ได้นาน
แสงแดด: รำไรถึงปานกลาง 40-60%
กล้วยไม้ชนิดนี้นับว่ามีดอกสวยงามมากชนิดหนึ่ง และช่อดอกทั้งหมดรวมกันแล้วก็มีขนาดกลาง ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป จึงนับเป็นกล้วยไม้ที่น่าเลี้ยงมากชนิดหนึ่ง ยกเว้นกลิ่นเหม็นเขียวหรือคาวที่เป็นข้อเสียสำคัญ โดยรวมแล้วเป็นกล้วยไม้ขนาดเล็ก สามารถปลูกเลี้ยงในกระถางหรือเกาะกิ่งไม้ก็ได้ เครื่องปลูกควรอมความชื้นได้ดี แต่ไม่แฉะจนเกินไป เนื่องจากเป็นกล้วยไม้ป่าทางภาคใต้ของไทย ซึ่งมีฝนตกชุกยาวนานตั้งแต่พฤษภาคมถึงธันวาคม และมีฤดูดอกในช่วงปลายฤดูฝน ดังนั้นถ้ารดน้ำและให้ปุ๋ยสมบูรณ์ดี เสมือนว่าเป็นฤดูฝนตลอดทั้งปี ก็จะออกดอกได้มากกว่าหนึ่งครั้งในหนึ่งปี
ถ้าปรับปรุงพันธุ์ให้กลิ่นหายไป หรือผสมกับกล้วยไม้ชนิดอื่นที่มีกลิ่นหอม และทำให้ดอกบานได้นานขึ้น ก็น่าจะได้ลูกผสมเป็นกล้วยไม้ที่น่าเลี้ยงเป็นไม้กระถาง สำหรับตั้งในห้องทำงานหรือในบ้านได้ เนื่องจากต้องการแสงค่อนข้างน้อย
Bulbophyllum patens King ex Hook.f.
Bulbophyllum patens King ex Hook.f. (ท. สิงโตก้ามปูแดง) กลีบดอกมีจุดและปื้นสีแดงขนาดใหญ่เกือบเต็มพื้นที่ ดอกเดี่ยวขนาดค่อนข้างใหญ่ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
หัวรูปรีหรือรูปไข่ ยาว 2-3 x 1-1.5 ซม. สีเขียวอ่อนถึงเข้ม มีร่องลึกตามยาว 2 ร่องและร่องตื้นๆ อีกหลายร่อง เหง้ามี 3-8 ข้อ มีขนเส้นยาวรอบข้อและโคนหัว รากออกตามเหง้าตลอดความยาว มีใบรูปรี 1 ใบ ขนาด 1-20 x 3-5 ซม. ใบหนาเหนียว ปลายมนยอดเว้าเล็กน้อย สีเขียวอ่อนถึงเข้ม ขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงที่ได้รับ ดอกเดี่ยวเกิดตามข้อ ก้านดอกยาว 3-4 ซม. ขนาดดอก 3-4 ซม. ส่วนใหญ่ดอกจะอยู่ในสภาพกลับหัว คือในสภาพธรรมชาติ ดอกบานโดยมีกลีบปากอยู่ด้านบน กลีบดอกรูปสามเหลี่ยมเรียวยาว สีพื้นสีนวล มีปื้น แต้ม และจุดสีแดงเลือดหมู ขนาดใหญ่เกือบเต็มพื้นที่กลีบ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ตอนกลางวัน ดอกบานนานประมาณ 2-3 วัน
แหล่งที่พบ: เป็นกล้วยไม้พื้นถิ่นพบตามป่าดิบในภาคใต้ มาเลเซีย อินโดนีเซีย
ฤดูดอก: ออกดอกปีละ 2 ครั้งในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน และเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและความสมบูรณ์ของต้น
น้ำและความชื้น: ทนน้ำ ชอบอากาศชื้น แต่ไม่แฉะ ทนแล้งได้นาน
แสงแดด: ปานกลางถึงจัด 60-100%
กล้วยไม้ชนิดนี้นับว่ามีดอกสวยงามมากชนิดหนึ่ง ดอกมีขนาดค่อนข้างใหญ่ และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ จึงนับเป็นกล้วยไม้ที่น่าเลี้ยงมากชนิดหนึ่ง โดยรวมแล้วนับเป็นกล้วยไม้ขนาดกลางที่น่าเลี้ยง สามารถปลูกเลี้ยงในกระถางหรือเกาะกิ่งไม้ก็ได้ เครื่องปลูกควรอมความชื้นได้ดี แต่ไม่แฉะจนเกินไป เนื่องจากเป็นกล้วยไม้ป่าทางภาคใต้ของไทย ซึ่งมีฝนตกชุกยาวนานตั้งแต่พฤษภาคมถึงธันวาคม และมีฤดูดอกในช่วงปลายฤดูฝน ดังนั้นถ้ารดน้ำและให้ปุ๋ยสมบูรณ์ดี เสมือนว่าเป็นฤดูฝนตลอดทั้งปี ก็จะออกดอกได้มากกว่าหนึ่งครั้งในหนึ่งปี
ข้อเสียคือมีดอกเดี่ยว ก้านดอกสั้น ทำให้ดอกไม่โดดเด่น ใบมีขนาดใหญ่ บดบังดอกเสียมาก และยังชอบแดดค่อนข้างจัด แม้ว่าจะทนสภาพร่มได้ก็ตาม แต่จะทำให้ใบมีขนาดใหญ่มากขึ้น สีเขียวเข้มขึ้น ดังนั้นถ้าปรับปรุงพันธุ์ให้มีดอกเป็นช่อ มีดอกจำนวนมากขึ้น และทำให้ดอกบานได้นานขึ้นไปอีก หรือผสมกับกล้วยไม้ที่ชอบร่ม และมีใบเล็ก ก็น่าจะได้ลูกผสมเป็นกล้วยไม้ที่น่าเลี้ยงเป็นไม้กระถาง สำหรับตั้งในห้องทำงานหรือในบ้านได้ แต่อาจต้องนำออกไปรับแสงภายนอกอาคารเป็นครั้งคราว
ป้ายกำกับ:
Bulbophyllinae,
Bulbophyllum,
Bulbophyllum patens,
southern Thailand
Bulbophyllum monantum (Kze.) J.J.Smith
Bulbophyllum monanthum (Kze.) J.J.Smith (ท. สิงโตนางรำ) เป็นกล้วยไม้สิงโตดอกค่อนข้างเล็ก แต่มีสีเหลืองสดใส มีรูปร่างแปลกตากว่าสิงโตทั่วไปตรงที่กลีบเลี้ยงบนมีขนาดใหญ่กว่ากลีบอืื่นๆ
หัวหรือลำลูกกล้วยรูปทรงกระบอกและผอม ยาว 3-5 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.2 ซม. โคนหัวมีเยื่อเป็นตาข่าย ปลายแตกเป็นขนเส้นเล็กยาว ขึ้นห่างกันบนเหง้ายาว 3-6 ซม. ใบรูปแถบ ขนาด 12-15 x 2.5 ซม. ปลายใบเว้า ดอกเดี่ยวออกจากโคนลำ ก้านยาว 3-5 ซม. ดอกกว้าง 1 ซม. สูง 2 ซม. กลีบสีเหลือง มีจุดประสีน้ำตาลแดง กลีบบนใหญ่กว่ากลืบอื่นฃัดเจน เป็นรูปไข่ปลายแหลม กลีบคู่ล่างโค้งม้วนลง กลีบในขนาดเล็ก ปากใหญ่ ปลายขาว มีติ่งสีขาวที่ปลายทั้งสองข้าง กลางขอบปากเป็นสีน้ำตาลแดง เส้าเกสรอ้วนและสั้นมาก ไม่มีกลิ่น ดอกบานนานประมาณ 5 วัน
แหล่งที่พบ: ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เวียดนาม ภูฏาน อินเดีย จีน
ฤดูดอก: ธันวาคม - มกราคม ในการปลูกเลี้ยงพบว่ายังออกดอกในเดือนพฤษภาคมด้วย
น้ำและความชื้น: ทนแห้งได้ดี เนื่องจากเป็นกล้วยไม้ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งอากาศในหน้าร้อนมักแล้งมาก
แสงแดด: ปานกลางถึงจัด 60-100%
กล้วยไม้ชนิดนี้นับว่ามีดอกสวยงามชนิดหนึ่ง และมีสีเหลืองสดใส ซึ่งหาได้ยากในกล้วยไม้กลุ่มสิงโต แต่มีข้อเสียคือออกดอกเป็นดอกเดี่ยว และดอกมีขนาดค่อนข้างเล็ก แม้จะมีก้านดอกยาว ทำให้ดอกไม่โดดเด่น ใบมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ระยะระหว่างต้นค่อนข้างห่าง และยังชอบแดดค่อนข้างจัด ดังนั้นถ้าปรับปรุงพันธุ์ให้มีดอกเป็นช่อ มีดอกจำนวนมากขึ้น มีกลิ่นหอม และทำให้ดอกบานได้นานขึ้นไปอีก หรือผสมกับกล้วยไม้ที่ชอบร่ม และมีใบเล็ก ก็น่าจะได้ลูกผสมเป็นกล้วยไม้ที่น่าเลี้ยงเป็นไม้กระถาง สำหรับตั้งในห้องทำงานหรือในบ้านได้ แต่อาจต้องนำออกไปรับแสงภายนอกอาคารเป็นครั้งคราว
Dendrobium leonis (Lindl.) Rchb.f.
Dendrobium leonis (Lindl.) Rchb.f. (ท. เอื้องตะขาบใหญ่) ใบคล้ายใบมีด ดอกสีเหลืองนวลถึงน้ำตาลอ่อน มีกลิ่นหอมหวาน
กล้วยไม้สกุล Dendrobium ใน section Aporum หรือกลุ่มเอื้องตะขาบ ซึ่งในประเทศไทยมีหลายชนิด มีลักษณะเด่นที่ใบมีลักษณะแบนคล้่ายใบมีด
ลำต้นแบนและบาง มีโคนกาบใบคลุมตลอด โคนเรียวยาว 10-15 ซม. ส่วนกว้างรวมทั้งใบ 2 ข้างประมาณ 2.5-3 ซม. ขึ้นเป็นกระจุกทอดเอนหรือห้อยลง ใบรูปคล้ายใบมีด หนา ขนาด 1.3-1.5 x 0.8-1.0 ซม. ปลายแหลม เรียงตัวสลับซ้ายขวาชิดกัน แผ่นใบเหนียวและค่อนข้างแข็ง ไม่มีร่องใบ ดอกเดี่ยวออกที่ปลายลำ โดยเกิดในถุงที่เกิดจากกาบหุ้มที่ปลายลำ ดอกกว้าง 1.2-1.5 ซม. ยาว 1.8-2.0 ซม. รูปทรงกระเปาะ เกิดจากคางเส้าเกสรที่ยาว และกลีบเลี้ยงคู่ข้างที่แผ่กว้าง และป่องออกด้านข้าง กลีบเลี้ยงบนรูปใบหอก กลีบเลี้ยงคู่ข้างรูปสามเหลี่ยมเบี้ยว แผ่ตลอดความยาวของคางเส้าเกสร กลีบดอกรูปใบหอกขนาดเล็ก กลีบปากเกาะกับปลายคาง รูปขอบขนาน โค้งลง ปลายกลีบเป็นสามแฉก ขอบปากยกขึ้นเล็กน้อย กลีบมีสีเหลือง มีเส้นสีน้ำตาลส้มตามยาวเล็กน้อย กลีบปากสีเหลืองถึงน้ำตาลแดง ตรงกลางมีเส้นสีเหลือง ขอบสีเหลือง ไม่มีหูกลีบ ดอกมีกลิ่นหอมหวานตอนกลางวัน
แหล่งที่พบ: ทุกภาคของประเทศ
ฤดูดอก: ตลอดปี
น้ำและความชื้น: อยู่ได้ในสภาพต่างๆ กว้างมาก ทั้งแล้งและชื้น
แสงแดด: ปานกลางแดดจัด 40-100% หากถูกแดดแรง ใบจะมีสีออกม่วงแดงสวยงาม ถ้าอยู่ในสภาพค่อนข้างร่ม ใบจะมีสีเขียวเข้ม
กล้วยไม้ชนิดนี้นับว่ามีทรงต้นสวยงามชนิดหนึ่ง และมีจุดเด่นที่ใบมีสีออกม่วงแดงถ้าอยู่ในสภาพแดดจัด ออกดอกเดี่ยวที่ยอด ถ้าปลูกเป็นกอใหญ่จะมีดอกออกสลับกันในแต่ละยอดได้ตลอดปี และยังมีกลิ่นหอมหวานชื่นใจอีกด้วย ดังนั้นถ้าปรับปรุงพันธุ์ให้มีดอกมีขนาดใหญ่และดกขึ้น ก็น่าจะได้ลูกผสมเป็นกล้วยไม้ที่น่าเลี้ยง เป็นไม้ประดับสวนหรือไม้กระถางแขวน เนื่องจากลำต้นทอดเอนหรือห้อยย้อย
ป้ายกำกับ:
Aporum,
Dendrobium,
Dendrobium leonis,
Thailand
Dendrobium linguella Rchb.f.
Dendrobium linguella Rchb.f. (ท. เอื้องดอกมะเขือใต้) ลำต้นเป็นสายห้อยย้อย ดอกสีขาวถึงขาวอมชมพู มีกลิ่นหอมหวาน
กล้วยไม้สกุล Dendrobium ใน section Brevifores หรือกลุ่มเอื้องดอกมะเขือ ซึ่งในประเทศไทยมี 3 ชนิด มีลักษณะเด่นที่กลีบปากเป็นกระพุ้ง ปลายเป็นจงอยแหลม และฝาอับเรณูมีสีม่วงเข้มเด่นชัด
ลำต้นทรงกลม เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่มีสีเทาน้ำตาลอ่อน ซี่งเป็นกาบใบที่หุ้มอยู่ ข้อเห็นได้ชัดเจน ห่างประมาณ 2.5 ซม. ลำมีขนาดยาวประมาณ 30-50 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 ซม. ขึ้นชิดกันเป็นกอ ลำต้นเป็นสายห้อยย้อย ใบสีเขียวรูปใบหอกปนรูปขอบขนาน ยาว 10-12 ซม. กว้าง 2.5 ซม. แผ่แบน ใบบางและอ่อน มักหลุดร่วงไปทั้งลำเมื่ออายุเกิน 1 ปี ดอกออกเป็นช่อตามข้อ ข้อละ 3-6 ดอก ขนาด 1.2-1.7 ซม. สีขาวถึงขาวอมชมพู ปลายกลีบสีชมพู ทุกกลีบห่องุ้ม กลีบค่อนข้างหนาคงรูป กลีบเลี้ยงบนรูปใบโพธิ์ กลีบเลี้ยงคู่ข้างมีฐานกว้างคลุมคางเส้าเกสร ปลายแหลม กลีบดอกรูปใบหอก กลีบปากมีขอบยกห่อเป็นกระเปาะ รองรับเส้าเกสรแต่ไม่หุ้มคลุม ขอบมีขนสีขาวสั้นๆ ในคอปากมีตุ่มเนื้อนูนตรงกลางหนึ่งก่อน และที่ด้านในอีกหนึ่งก้อน ปลายปากเป็นจงอยแหลม เส้าเกสรสีขาว ขอบด้านข้างทั้งสองแผ่เป็นปีก และยื่นแหลมไปด้านหน้า ฝาอับเรณูมีสีชมพูม่วงเข้มเห็นเด่นชัด มีกลิ่นหอมหวานตอนกลางวัน
แหล่งที่พบ: ภาคใต้ และมาเลเซีย
ฤดูดอก: เมษายนถึงพฤษภาคม
น้ำและความชื้น: ชอบอากาศชื้น แต่ทนแล้งได้ดีเช่นกัน
แสงแดด: ปานกลางถึงจัด 40-80% ในธรรมชาติพบขึ้นบนต้นไม้ริมลำธาร มีร่มเงาถึงแดดค่อนข้างจัด
กล้วยไม้ชนิดนี้นับว่ามีดอกสวยงามชนิดหนึ่ง ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ แต่มีหลายช่อทำให้ดูเด่น แต่ดอกค่อนข้างเล็ก และมีกลิ่นหอมหวานชื่นใจ ดังนั้นถ้าปรับปรุงพันธุ์ให้มีดอกมีขนาดใหญ่ขึ้น และออกดอกได้หลายครั้งในหนึ่งปี ก็น่าจะได้ลูกผสมเป็นกล้วยไม้ที่น่าเลี้ยง เป็นไม้ประดับสวนหรือไม้กระถางแขวน เนื่องจากลำต้นเป็นสายห้อยย้อย
ป้ายกำกับ:
Dendrobium linguella,
section Brevifores,
southern Thailand,
Thailand
วันจันทร์, มีนาคม ๐๕, ๒๕๕๐
กล้วยไม้เผ่าย่อยหวาย
Dendrobium williamsonii Day & Rchb.f. (ท. เอื้องเงินแสด) มีกลิ่นหอมอ่อนๆ คล้ายน้ำส้ม
กล้วยไม้ในเผ่าย่อยนี้ประกอบด้วยกล้วยไม้เพียงสามสกุลคือ สกุลหวาย (Dendrobium) สกุลเอื้องกระเจี้ยง (Epigeneium) และสกุลเอื้องขาไก่ (Flickingeria) แต่จำนวนชนิดที่มีมากที่สุดอยู่ในสกุลหวาย (Dendrobium) สกุลเอื้องกระเจี้ยง (Epigeneium) พบในประเทศไทยเพียง 3 ชนิด และสกุลเอื้องขาไก่ (Flickingeria) พบในประเทศไทย 16 ชนิด
กล้วยไม้ในเผ่าย่อยนี้เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ขึ้นเป็นกอ มีเหง้าหรือลำกลมผอมและแข็ง แม้สกุลหวาย (Dendrobium) เป็นตัวแทนของเผ่าย่อยนี้ แต่ลักษณะลำต้นของแต่ละสกุลในเผ่าย่อยนี้ต่างกันมาก สกุลเอื้องกระเจี้ยง (Epigeneium) มีเหง้าผอมกลมทอดยาว สลับกับหัวรูปไข่หรือรี มีใบ 1-2 ใบ ดูคล้ายกล้วยไม้ในเผ่าย่อยเอื้องเทียน ส่วนสกุลเอื้องขาไก่ (Flickingeria) มีเหง้าค่อนข้างสั้น หัีวหรือลำแตกออกจากส่วนเหง้า ลักษณะค่อนข้างยาว มีใบเพียง 1 ใบที่ปลาย มักมีดอกเดี่ยวหรือสองสามดอกที่ปลาย ส่วนสกุลหวาย (Dendrobium) มีลำลูกกล้วยรีหรือยาว บางชนิดเช่น Dendrobium lindleyi Steud. (ท. เอื้องผึ้ง) มีใบเพียงใบเดียวต่อลำหรือนานๆ ทีจะเห็นสองใบต่อคำ แต่ส่วนใหญ่มีใบจำนวนมาก เนื่องจากมีลำยาว ลักษณะร่วมกันในเผ่าย่อยนี้่เห็นได้ที่ลักษณะดอก ที่เส้าเกสรมีคางชัดเจน โคนกลีบเลี้ยงคู่ข้างแผ่กว้างติดกับส่วนคาง กลีบปากอาจมีหูหุ้มเส้าเกสร หรือแผ่กว้างผายออกจากโคน โดยไม่มีส่วนหูที่ชัดเจน เผ่าย่อยนี้กลุ่มเรณูไม่มีก้านหรือแป้นก้านเรณู ซึ่งเป็นเช่นเดียวกับอีกหลายสกุลในกลุ่มย่อย Epidendroideae
กล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium) เป็นสกุลใหญ่มาก และมีความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างชนิดอย่างมาก จึงจำเป็นต้องแบ่งย่อยเป็นอีกหลายกลุ่ม (section) ในการแบ่งนั้นเองยังมีหลายแบบ แล้วแต่ผู้แบ่งและการศึกษาด้วยวิธีต่างๆ การแบ่งกลุ่มแต่เดิมใช้ลักษณะภายนอก เช่น ลำต้น ใบ ดอก เป็นหลัก ซึ่งก็ใช้ได้ดีในระดับหนึ่ง แต่หลังๆ นี้มีแนวโน้มจะใช้การวิเคราะห์ทางพันธุกรรมและ DNA มาประกอบด้วย เนื่องจากในบางกลุ่มยังพบว่า แม้การผสมข้ามชนิดภายในกลุ่มก็ยังเป็นไปได้ยาก นั่นคือมมีความแตกต่างภายในกลุ่มมากเกินไป ทำให้คิดว่าน่าจะต้องแบ่งย่อยออกไปอีก เพื่อให้การแบ่งกลุ่มในสกุลนี้ ช่วยในการบอกความใกล้ชิดทางพันธุกรรมได้ชัดเจนขึ้น และบอกแนวโน้มในการผสมข้ามชนิด เพื่อประโยชน์ทางอนุกรมวิธานและเพื่อการค้าได้ดีขึ้น
ในที่นี้จะกล่าวถึงการแบ่งกลุ่มอย่างง่าย และจะกล่าวถึงกลุ่มที่มีในประเทศไทยเท่านั้น ดังนี้ subgenus Anthecibium, section Calista ได้แก่กลุ่มเอื้องคำ เอื้องผึ้ง เอื้องม่อนไข่ มักมีดอกเป็นช่อห้อยลง หรือเป็นช่อสั้นก็ได้ เช่นเอื้องชะนี ส่วนใหญ่ดอกมักมีสีเหลือง subgenus Dendrobium, section Dendrobium มีดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มตามข้อ เช่น Dendrobium parishii Rchb. f. (ท. เอื้องสายครั่ง) ซึ่งชื่อไทยบ่งกลุ่มได้ชัดเจน ได้แก่กลุ่มเอื้องสายต่างๆ section Formosae ลำมีขนละเอียดสีดำ ดอกมักมีสีขาว หรือสีอ่อน เช่น Dendrobium formosum Roxb. ex Lindl. (ท. เอื้องเงินหลวง), Dendrobium scabrilinge Lindl. (เอื้องแซะหอม) ซึ่งในชื่อไทยจะจัดกลุ่มได้ชัดเจนอยู่แล้ว คือ กลุ่มเอื้องเงินและเอื้องแซะชนิดต่างๆ section Pedilonum ลำยาว ดอกเป็นช่อ ดอกมีขนาดเล็กจำนวนมาก เช่น Dendrobium secundum (Blume) Lindl. (ท. เอื้องแปรงสีฟัน) subgenus Rhopalobium, section Rhopalanthe ลำพองออกที่ส่วนโคนและเรียวยาวตอนปลายคล้ายแส้ ดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่ม ขนาดเล็ก ออกตามข้อ เช่น Dendrobium crumenatum Sw. (ท. หวายตะมอย) และยังมีกลุ่มที่มีจำนวนชนิดไม่กี่ชนิด หรือไม่มีความสำคัญในทางการค้า จึงไม่ค่อยมีการกล่าวถึง หรือไม่ก็นำไปจัดรวมกับกลุ่มหลักๆ ข้างต้น แต่ในอนาคต กล้วยไม้บางชนิดที่ถูกละเลยไป อาจมีความสำคัญขึ้นก็ได้ หากมีลักษณะเด่นบางอย่าง ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงลักษณะเพื่อการค้าได้
กล้วยไม้เผ่าย่อยหวาย (Dendrobium) มีการกระจายทั่วไปทั่วทั้งทวีปอาเซีย อย่างไรก็ตาม แต่ละชนิดมักมีการกระจายกว้างหรือแคบแล้วแต่พันธุ์ สภาพอากาศที่กล้วยไม้แต่ละชนิดชอบก็แตกต่างกัน เช่น กล้วยไม้ในกลุ่มเอื้องสาย พบกระจายตามป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ว หรือป่าเบญจพรรณในภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ ในพื้นที่สูง จึงไม่ค่อยพบทางภาคใต้ แต่ Dendrobium crumenatum Sw. (ท. หวายตะมอย) ชอบป่าไม่ผลัดใบ ตามที่ร่มแสงแดดรำไร ระดับน้ำทะเลถึงไม่เกิน 800 เมตร
ป้ายกำกับ:
Dendrobium,
Epigeneium,
Flickingeria
วันศุกร์, มีนาคม ๐๒, ๒๕๕๐
กล้วยไม้เผ่าย่อยเอื้องเทียน
Coelogyne nitida (Wall. mss.) Lindl. (ท. เอื้องเทียนขาว, สกาวจันทร์) ดอกสีขาว กลีบเรียว ปากมีลวดลายสีเหลืองขอบน้ำตาลสวยงาม ทนแดดจัดถึงปานกลางได้ดี ออกดอกราวเดือนธันวาคมถึงมกราคม
กล้วยไม้ในเผ่าย่อยเอื้องเทียน (subtribe Coelogyinea) ในประเทศไทยพบอยู่ 7 สกุล มีลักษณะต้นเป็นหัวเทียม (pseudobulb) มีตั้งแต่สั้นป้อมไปจนถึงยาว มีใบเดียวหรือหลายใบ บางชนิดทิ้งใบก่อนออกดอก บางชนิดก็ไม่ทิ้งใบเลย กล้วยไม้กลุ่มย่อยนี้มักออกดอกเป็นช่อ มีตั้งแต่สามถึงประมาณห้าหกดอก เช่นกล้วยไม้ในสกุลเอื้องเทียน (Coelogyne) ไปจนถึงเป็นช่อยาวมาก เช่นกล้วยไม้บางชนิดในสกุลเอื้องลำต่อ (Pholidota) ดอกมักมีสีขาวหรือสีอ่อน เช่นเหลือง น้ำตาล หรือเขียวอ่อน กลีบดอกมักเรียวยาว กลีบปากมีขนาดใหญ่ ห่อเป็นกรวย ปลายบาน เส้าเกสรไม่มีคาง ใบค่อนข้างยาว มีรอยพับกลางหรือพับจีบ ใบอ่อนพับห่อหรือพับเป็นจีบหลายทบ แล้วคลี่ออกเมื่อแก่ ลักษณะลำต้นของแต่ละสกุล มีความแตกต่างกันพอสมควร จนพอจะแยกออกจากกันได้ ซึ่งต่างจากกล้วยไม้ในกลุ่มสิงโต ที่มักแยกสกุลจากลักษณะลำต้นได้ยากมาก
สกุลเอื้องเทียน (Coelogyne) เป็นต้นแบบของเผ่าย่อยนี้ หัวมีผิวมัน ใบมัน ดอกผิวมันเช่นกัน จึงถูกเรียกว่าเอื้องเทียน หรือเอื้องมัน ดอกค่อนข้างมีขนาดใหญ่ ช่อดอกออกจากโคนต้น มีสามถึงห้าดอก ใบประดับเป็นกาบมีขนาดยาวพอๆ กับความยาวของกลีบดอก มักมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ที่ปากมักมีแต้มสีสดใสลวดลายต่างๆ กันตามชนิด สกุลนี้มักเป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ขึ้นตามโขดหินหรือต้นไม้ ชอบแสงแดดจัดถึงแสงปานกลาง แต่แสงรำไรก็อยู่ได้ ส่วนสกุล Neogyne มีลักษณะคล้ายสกุลเอื้องเทียน (Coelogyne) มาก แต่กลีบปากมีขอบพับโค้ง รอบเส้าเกสรและโคนกลีบเลี้ยงทั้งสามกลีบเป็นถุงตื้นๆ ในประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียวคือ Neogyne gardneriana (Lindl.) Rchb.f.
สกุลกระดิ่งภูหรือเอื้องพลาย (Pleione) มักขึ้นตามที่ชื้นมากๆ เช่นในกลุ่มมอสหรือบางทีขึ้นตามพื้นดิน ทิ้งใบก่อนออกดอก หัวมีลักษณะยุบลงตอนบน ทำให้เป็นสัน หัวจึงดูเหมือนถังป้อมๆ เมื่อแตกหัวใหม่หัวเก่ามักเหี่ยวยุบไป ทำให้เห็นว่าขึ้นเป็นกลุ่ม แต่ไม่เห็นเป็นกอขนาดใหญ่ ใบพับเป็นจีบเล็กๆ ตามยาว ดอกมีขนาดใหญ่ และเมื่อออกดอกโดยไม่มีใบจึงดูเด่นสวยงาม ในประเทศไทยพบ 2 ชนิดคือ Pleione maculata (Lindl.) Lindl. (ท. พลายงาม) และ Pleione praecox (Sm.) D.Don. (ท. พลายชมพู) ซึ่งดอกมีสีชมพูสวยงามมาก
สกุลเอื้องลำต่อ (Pholidota) ลำลูกกล้วยค่อนข้างยาว มีใบเป็นแผ่นบางจำนวน 1 ถึง 3 ใบต่อลำ ใบพับกลางหรือพับจีบ ออกดอกที่โคนลำหรือซอกใบ เป็นช่อห้อยยาว บางชนิดห้อยย้อยยาวกว่าลำต้น ใบประดับคล้ายกาบขนาดใกล้เคียงกับดอก ดอกมีจำนวนค่อนข้างมากชิดแน่น มักมีสีขาว สีนวล หรือสีน้ำตาลอ่อน กลีบปากมีแนวคอดช่วงกลาง ช่วงโคนเป็นกระพุ้งคล้ายเรือ มีสันหรือปุ่มเนื้อเยื่อเรียงตามยาว
สกุลเอื้องรงรอง (Panisia) เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย มีหัวขนาดเล็ก ขึ้นเป็นกระจุกค่อนข้างแน่น อวบน้ำและผิวย่นในฤดูแล้ง ใบมี 2 ใบ ค่อนข้างบอบบาง ดอกเกิดจากส่วนเหง้าใกล้หัวเทียม กลีบบอบบาง กลีบเลี้ยงและกลีบดอกคู่ข้างคล้ายกัน กลีบปากเป็นแผ่น ปลายมน
สกุลสร้อยระย้า (Otochilus) พบในประเทศไทยเพียง 3 ชนิด ลักษณะลำต้นเป็นปล้องป่องคล้ายไส้กรอก เกิดสลับกับข้อที่ซ้อนถี่ต่อเรียงกับเป็นแถว ปล้องใหม่เกิดด้านข้างของยอดซึ่งมีใบ 2 ใบ รากเกิดตามข้อ ช่อดอกเกิดที่ปลายของปล้องใหม่ เป็นพวงห้อยลง ดอกขนาดเล็กเรียงสลับซ้ายขวา ดอกบานเกือบพร้อมกันทั้งช่อ
สกุล Dendrochilum พบเพียงไม่กี่ชนิด เช่น Dendrochilum pallidiflavens Bl.
กล้วยไม้ในสกุลเอื้องเทียน (Coelogyne) และสกุลเอื้องพลายหรือกระดิ่งภู (Pleione) มีดอกสวยงามน่าปลูกเลี้ยงมาก แต่ค่อนข้างหาได้ยาก และผู้เลี้ยงต้องเข้าใจสภาพอากาศที่เหมาะสมกับกล้วยไม้เหล่านี้ด้วย
กล้วยไม้เผ่าย่อยเอื้องเทียน ค่อนข้างชอบที่โล่งแจ้งแสงแดดจัด แต่ก็สามารถอยู่ได้ในที่ร่ม ส่วนใหญ่ชอบสภาพอากาศที่ค่อนข้างเย็นในหน้าหนาว และทนแล้งในหน้าร้อน และการกระจายพันธุ์ของกล้วยไม้เผ่าย่อยนี้ พบในแถบเทือกเขาหิมาลัย จนถึงประเทศพม่า ไทย ลาว เวียตนาม ไม่เลยลงไปทางภาคใต้และมาเลเซีย ยกเว้นกล้วยไม้ในสกุลเอื้องลำต่อ (Pholidota) บางชนิด
ป้ายกำกับ:
Coelogyinea,
Coelogyne,
Dendrochilum,
Neogyne,
Otochilus,
Panisia,
Pholidota,
Pleione
กล้วยไม้เผ่าย่อยสิงโต
Bulbophyllum lasiochilum Par. & Rchb. f. (ท. สิงโตนักกล้าม) บางสายพันธุ์ย่อยในบางพื้นที่ ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ หัวและใบมีขนาดกระทัดรัด นับเป็นกล้วยไม้ที่น่าเลี้ยงมากชนิดหนึ่ง สำหรับผู้ที่มีพื้นที่จำกัด ออกดอกราวเดือนธันวาคมถึงมกราคม
กล้วยไม้ในเผ่าย่อยสิงโต หรือสิงโตกลอกตา (subtribe Bulbophyllinae) ในประเทศไทยมีด้วยกัน 7-9 สกุล ที่ว่า 7-9 เนื่องจากการแบ่งสกุลอาจมีซ้ำซ้อนกันบ้างแล้วแต่ผู้แบ่ง
เผ่าย่อยสิงโตนี้อยู่ใน subfamily Epidendroideae ซึ่งมีหลายกลุ่มย่อยและหลายสกุลมาก ต้นแบบของเผ่าย่อยสิงโตก็ได้แก่สกุลสิงโตกลอกตา (Bulbophyllum) ส่วนใหญ่เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยตามต้นไม้ มีบางชนิดขึ้นบนโขดหินหรือตามหน้าผาได้ บางชนิดหากชอบชื้นมากๆ ก็อาจขึ้นตามพื้นบนมอสหนาๆ ก็ได้
ส่วนใหญ่มีลักษณะลำต้นเป็นหัวเทียม (pseudobulb) ซึ่งมีทั้งที่เป็นลำลูกกล้วยยาวหรือเป็นหัวกลมๆ และบางชนิดอาจลดรูปจนคล้ายก้านใบก็มี ส่วนใหญ่มักมีใบเดียว แต่บางชนิดอาจมีสองใบ ใบยาวเรียวมีรอยพับกลางตามยาว บางชนิดทิ้งใบในหน้าแล้งก่อนออกดอก บางชนิดก็ไม่ทิ้งใบ บางชนิดขึ้นติดกันเป็นกระจุก บางชนิดก็มีไหลยาว ทำให้หัวเทียมอยู่ห่างกันมากก็มี
ดอกออกจากโคนหัว มีทั้งที่เป็นดอกเดี่ยว เป็นช่อมีดอกเป็นกระจุกที่ปลาย หรือเป็นช่อกระจะ (receme) มีดอกเล็กๆ เรียงกันตามยาวก็มี ชนิดที่มีดอกเดี่ยวมักมีดอกขนาดใหญ่ ขณะที่ดอกเป็นช่อมักมีดอกขนาดเล็ก ส่วนมากไม่มีกลิ่น แต่บางชนิดก็มีกลิ่นหอมแรง เช่น Bulbophyllum sukhakulii Seidenf. (ท. สิงโตสุขะกุล) บางชนิดมีกลิ่นหอมอ่อนๆ เช่น Bulbophyllum lasciochilum Par. & Rchb. f. (ท. สิงโตนักกล้าม) หรือไม่มีกลิ่นเลย เช่น Bulbophyllum monanthum (Kzm.) J. J. Sm. (ท. สิงโตนางรำ) หรือแย่กว่านั้นคือมีกลิ่นเหม็นเหมือนซากสัตว์ก็มี เช่น Bulbophyllum echinolabium สำหรับสกุลอื่นนอกจากสกุลสิงโตกลอกตา (Bulbophyllum) แล้วมักไม่มีกลิ่น
ลักษณะเด่นของกล้วยไม้ในกลุ่มย่อยนี้ที่ใช้แยกจากกล้วยไม้ในกลุ่มย่อยอื่น คือกลีบปากติดกับปลายคางเส้าเกสร มีลักษณะเป็นบานพับกระดก ใช้ล่อแมลงที่มาเกาะให้หัวคะมำลงไปภายในช่องปากเพื่อผสมเกสรได้
การแยกสกุลของกล้วยไม้ในเผ่าย่อยนี้มักดูจากลักษณะกลีบเลี้ยง สกุลสิงโตพัด (Cirrhopetalum) มีกลีบเลี้ยงคู่ข้างบิดม้วนพับเข้าใน จนผิวด้านหลังกลับมาอยู่ด้านหน้า ขอบด้านนอกของกลีบที่ม้วนกลับนั้นมักติดกัน ทำให้กลีบเลี้ยงคู่ล่างทั้งสองเชื่อมกันเป็นแผ่นใหญ่ ก้านช่อมักยาว ดอกออกปลายช่อ หลายชนิดมีหลายดอกเรียงกันเป็นรูปพัด คือเป็นช่อซี่ร่ม (umbel) และมีคางยื่นยาว สกุลสิงโตเหยี่ยว (Mastigion) มักมีดอกเดี่ยว กลีบเลี้ยงคู่ข้างยาวมาก และขอบเชื่อมติดกันเป็นหลอดโดยกลีบม้วนพับ และมักติดกันไปจนเกือบตลอดความยาว แต่แยกกันตอนปลายกลีบ และมีคางยาว กลีบเลี้ยงบน และกลีบดอกคู่ข้างมีขนเป็นพู่ สกุลสิงโตถุง (Rhytionanthos) กลีบเลี้ยงคู่ล่างพับห่อตามแนวยาว และมาประสานติดกันเป็นหลอดหรือถุง ส่วนสกุลเพชรพระอินทร์ (Trias) นั้นกลีบเลี้ยงทั้งสามกลีบ มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมชัดเจน คางสั้นมากหรืออาจกล่าวได้ว่าไม่มีคาง นอกจากนี้สกุลทับทิมสยาม (Drymoda) ไม่มีกลีบเลี้ยงที่โดดเด่น แต่มีคางที่เกิดจากส่วนโคนของเส้าเกสรยื่นยาวชัดเจน กลีบปากติดกับปลายคาง สกุล Monomeria คล้าย Drymoda ขณะที่สกุล Epicrianthes มีลักษณะแปลกที่กลีบดอกเป็นพู่ กลีบปากอยู่ด้า่นล่าง โคนกลีบมีตุ่มหูด ทำให้ดูเหมือนดอกมีเพียงสามกลีบคือกลีบเลี้ยงทั้งสาม ที่มีลักษณะเหมือนกันเท่านั้น ส่วนสกุลเอื้องฟันปลา (Sunipia) ดอกเป็นช่อกระจะ เรียงสลับฟันปลา ดอกเล็ก และสกุลเอื้องทับทิม (Ione) คล้ายสกุลเอื้องฟันปลา แต่กลีบเลี้ยงคู่ข้างมักเชื่อมติดกันเป็นบางส่วน โดยไม่ม้วนพับกลับเหมือนสกุลสิงโตพัด (Cirrhopetalum) ส่วนสกุลสิงโตกลอกตา (Bulbophyllum) มีทั้่งที่มีดอกเดี่ยวและเป็นช่อ ส่วนใหญ่กลีบเลี้ยงคู่ข้างมักกางผายออก หรือบิดม้วนพับแต่ไม่เชื่อมติดกัน บางชนิดกลีบเลี้ยงคู่ข้างเชื่อมติดกันโดยไม่บิดม้วนพับ แต่ก็ดูเหมือนว่าเมื่อจัดเข้าสกุลจำเพาะในกลุ่มนี้ไม่ได้ ก็จะจัดลงสกุลสิงโตกลอกตา (Bulbophyllum) ด้วย ทำให้สกุลนี้เป็นเหมือนถังขยะ นั่นคือมีลักษณะข้างต้นบางอย่างที่เป็นลักษณะของสกุลอื่นๆ ที่กล่าวมาแล้ว แต่ก้ำกึ่งหรือมีลักษณะผสมกันของสองสามสกุล เช่น Bulbophyllum longissimum (Ridl.) Ridl. ซึ่งในครั้งแรกก็ถูกจัดให้อยู่ในสกุล Cirrhopetallum แต่ภายหลังกลับเปลี่ยนไปเป็นสกุล Bulbophyllum เนื่องจากลักษณะกลีบเลี้ยงคู่ล่างแม้จะเชื่อมติดกัน แต่การเชื่อมติดกันกลับคล้ายสกุล Mastigion มากกว่า ขณะที่ขาดลักษณะอื่นๆ ของ Mastigion แท้ๆ
กล้วยไม้ในเผ่าย่อยนี้มีลำต้นไม่ใหญ่เก้งก้าง จึงเหมาะที่จะเลี้ยงในพื้นที่จำกัด เลี้ยงง่าย แต่ส่วนใหญ่มักจะมีขนาดดอกเล็ก จึงไม่เป็นที่นิยมของผู้เลี้ยงทั่วไป แต่จะมีกลุ่มผู้นิยมกล้วยไม้ในเผ่าย่อยสิงโตเป็นพิเศษ ที่มักจะเสาะแสวงหาพันธุ์แปลกๆ มาสะสม
การกระจายพันธุ์พบทั่วทั้งประเทศไทย บางชนิดพบจำเพาะในบางภาคหรือบางพื้นที่ แต่พบตามแนวเทือกเขาทางตะวันตกของประเทศ ตั้งแต่ภาคเหนือถึงภาคใต้ รวมไปถึงประเทศพม่า และเลยไปถึงมาเลเซีย และอินโดนีเซีย มีหลายชนิดมากกว่าในภาคอื่นๆ ข้อพึงระวังในการเลี้ยงกล้วยไม้จากทางภาคใต้หรือมาเลเซีย อินโดนีเซีย คือ สภาพธรรมชาติมักขึ้นในป่าดิบชื้น แสงแดดปานกลางถึงร่มรำไร การปลูกจึงต้องเลี้ยงในพื้นที่ค่อนข้างร่มและชื้น ส่วนชนิดที่พบทางภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มักพบขึ้นในป่าผลัดใบ มักจะทนร้อนและอากาศแห้งได้ดีกว่า
และนอกจากนี้ กล้วยไม้ชนิด Bulbophyllum moniliforme Par. & Rchb. f. (ท. สิงโตไข่ปลา, เอื้องไข่ปลา, เอื้องหัวเข็มหมุด) ยังเป็นกล้วยไม้ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก และมีถิ่นที่พบในประเทศไทยด้วย
Bulbophyllum moniliforme Par. & Rchb. f. (ท. สิงโตไข่ปลา, เอื้องไข่ปลา, เอื้องหัวเข็มหมุด) กล้วยไม้ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก
กล้วยไม้ในกลุ่มย่อยนี้มักผสมข้ามสกุลกันเองในเผ่าย่อยนี้ได้ ทำให้สามารถเลือกลักษณะเด่นต่างๆ จากแต่ละสกุลหรือชนิดมาผสมกับชนิดอื่นๆ ได้ดอกที่มีลักษณะตามต้องการได้
ป้ายกำกับ:
Bulbophyllinae,
Bulbophyllum,
Cirrhopetalum,
Drymoda,
Epicrianthes,
Ione,
Mastigion,
Monomeria,
Rhytionanthos,
Sunipia,
Trias
วันเสาร์, กุมภาพันธ์ ๒๔, ๒๕๕๐
การแบ่งวงศ์ย่อยกล้วยไม้
Ludisia discolor (Ker-Gawl.) A. Rich. (ท. ว่านร่อนทอง, ว่านน้ำทอง)
(ภาพจาก http://www.malihini.org/images/) เป็นกล้วยไม้ดินที่มีลักษณะค่อนข้างโบราณ แต่ใบมีสีน้ำตาลแดง และมีลวดลายสวยงาม จัดเป็นไม้ใบที่สวยงามชนิดหนึ่ง ขณะที่ดอกมีขนาดเล็กและไม่มีความโดดเด่นแต่อย่างใด
ในที่นี้จะแบ่งกลุ่มกล้วยไม้ตามอนุกรมวิธานก่อน โดยแบ่งเป็น subfamily หรือ วงศ์ย่อย แล้วย่อหน้าถัดไปเป็น tribe subtribe และ genus หรือสกุล โดยจะกล่าวเฉพาะที่พบในธรรมชาติของประเทศไทยเท่านั้น แท้จริงแล้วกล้วยไม้ยังมีสกุลต่างๆ อีกมากกว่านี้มากมายนัก โดยเฉพาะในทวีปอเมริกาใต้ มีกล้วยไม้สกุลที่ต่างไปจากสกุลต่างๆ ในประเทศไทยอีกเป็นจำนวนมาก เช่นกลุ่ม Catleya, Oncidium เป็นต้น ซึ่งแต่ละกลุ่มยังมีอีกหลายสกุลเช่นกัน แต่เพียงเท่าที่มีอยู่ในพื้นที่ประเทศไทย ก็น่าตกใจแล้วว่าทำไมจึงมีกล้วยไม้มากสกุลมากชนิดเหลือเกิน ทั้งที่เรารู้จักกันอยู่เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น
- Subfamily
- Tribe
- Subtribe
- Genus
มาดูกันก่อนว่าวงศ์ย่อยของกล้วยไม้มี 6 วงศ์ย่อยอะไรบ้าง ดังนี้
- Apostasioideae
วงศ์ย่อยนี้เป็นกล้วยไม้ดิน มีลักษณะดั้งเดิมหรือโบราณมากที่สุดใน 6 วงศ์ย่อย คือกลีบเลี้ยงและกลีบดอกทั้งหมดมีลักษณะคล้ายกัน ไม่มีกลีบปาก จึงดูคล้ายพืชในวงศ์ลิลลี่ (Liliaceae) เกสรเพศผู้ (stamen) มีจำนวน 3 หรือ 2 อัน เรณูเป็นผง ยอดเกสรเพศเมียมีก้านชูและภายในรังไข่ยังแยกเป็น 3 ช่อง (ต่างจากวงศ์ย่อยอื่นๆ ที่มีเกสรเพศผู้ 1-2 อัน และภายในรังไข่มี 1 ช่อง)
- Cypridedioideae
ส่วนใหญ่เป็นกล้วยไม้ดิน ส่วนใหญ่มีอายุนานหลายปี ไม่ทิ้งใบ ได้แก่พวกรองเท้านารี มีลักษณะเด่นคือกลีบเลี้ยงด้านข้างเชื่อมติดกันเป็นอันเดียว อยู่ที่ด้านล่างของดอก กลีบปากเป็นถุงคล้ายหัวรองเท้า มีเกสรเพศผู้ 2 อัน อยู่ด้านข้างของเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่น ละอองเรณูเหนียว จับเป็นกลุ่ม
- Neottioideae
ส่วนใหญ่เป็นกล้วยไม้ดินเช่นกัน มีเหง้าทอดไปตามผิวดินหรือใต้ดิน หรือมีรากสะสมอาหารอยู่ใต้ดิน ใบบาง เกสรเพศผู้มี 1 อัน ผนังฝาปิดอับเรณูไม่หลุดร่วง กลุ่มละอองเรณูประกอบด้วยกลุ่มละอองเรณูย่อยจับเป็นก้อน มีลักษณะอ่อน ยึดติดกับแผ่นเยื่อเหนียวๆ (visidium) และจะงอยของยอดเกสรเพศเมียมักจะยืดตัวยาว
- Orchidioideae
มีลักษณะใกล้เคียงกับวงศ์ย่อย Neottioideae แต่กลุ่มละอองเรณูมีก้านไปยึดติดกับแผ่นเยื่อบางๆ ส่วนปลายของจะงอยยอดเกสรเพศเมียมักจะยึดตัวอยู่ระหว่างอับเรณู
- Epidendroideae
กลุ่มนี้มีกลักษณะต้นและใบหลากหลายมาก มีทั้งกล้วยไม้อิงอาศัยและกล้วยไม้ดิน มีเกสรเพศผู้ 1 อัน อับเรณูส่วนบนจะแยกออกเป็นฝาปิด (operculum) และร่วงหลุดไปเมื่อเจริญเต็มที่ ละอองเรณูจับเป็นก้อนแน่น แต่ไม่แข็ง ส่วนใหญ่กลุ่มละอองเรณูไม่มีก้าน (stripes)
- Vandoideae
ลักษณะต้น ใบ และจำนวนเกสรเพศผู้คล้ายวงศ์ย่อย Epidendroideae ส่วนใหญ่เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย มีส่วนน้อยที่เป็นกล้วยไม้ดิน กลุ่มละอองเรณูค่อนข้างเหนียวหรือแข็ง อยู่เป็นชุดกลุ่มละอองเรณู มีก้านและมีแป้นยึดก้าน
แม้ว่ากล้วยไม้จะมีหลายวงศ์ย่อยดังที่กล่าวมาแล้ว รวมแล้วมีหลายสิบสกุล แต่ที่นิยมเลี้ยงกันก็มีไม่มากนัก ทั้งนี้เพราะหลายสกุลไม่อาจเลี้ยงในสภาพแวดล้อมปกติได้ เนื่องจากเป็นกล้วยไม้กินซาก บางชนิดดอกไม่สวยงาม หรือมีขนาดเล็กมาก บางชนิดก็มีลำต้นใหญ่เกินไป หรือเลี้ยงยาก จึงมีเพียงบางสกุลเท่านั้นที่นิยมเลี้ยงกันตามบ้าน แต่ในหมู่ผู้นิยมกล้วยไม้ป่าแล้ว ก็มักจะหากล้วยไม้แปลกๆ ที่พอเลี้ยงได้มาเลี้ยงเช่นกัน แต่ถ้าไม่แน่ใจว่ารู้จักกล้วยไม้นั้นๆ ดีพอแล้ว ก็อย่านำมาเลี้ยงดีกว่า เนื่องจากกล้วยไม้บางชนิดมีความจำเพาะต่อสภาพแวดล้อมมาก เช่น บางชนิดชอบแสงแดดจัด บางชนิดชอบอากาศเย็นตลอดปี บางชนิดชอบความชื้นสูง การเลี้ยงกล้วยไม้เหล่านั้นรวมกัน โดยไม่ทราบความแตกต่างที่มันต้องการ จะทำให้บางต้นตายไปอย่างน่าเสียดาย เนื่องจากปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคยไม่ได้
การแบ่งกล้วยไม้เป็น tribe subtribe และสกุลต่างๆ ในวงศ์ย่อยต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว เป็นดังนี้
- Apostasioideae
- Apostasioideae
- Apostasia
- Cypridedioideae
- Paphiopedilum
- Cranichideae
- Goodyerinae
- Anoectochilus
- Cheirostylis
- Goodyera
- Herpysma
- Ludisia
- Zeuxine
- Diurideae
- Cryptostylidinae
- Crystostylis
- Gastrodieae
- Epipogiinae
- Epipogium
- Neottieae
- Limodorinae
- Aphyllorchis
- Nervilieae
- Nervilia
- Tropidieae
- Corymborkis
- Tropidia
- Orchideae
- Orchidinae
- Brachycorythis
- Habeneria
- Hemipilia
- Pecteilis
- Peristylus
- Sirindhornia
- Arethuseae
- Bletiinae
- Acanthephippium
- Anthogonium
- Bletilla
- Calanthe
- Eriodes
- Ipsea
- Mischobulbon
- Nephelaphyllum
- Pachystoma
- Phaius
- Plocoglottis
- Spathoglottis
- Tainia
- Coelogyneae
- Coelogyinae
- Coelogyne
- Dendrochilum
- Neogyne
- Otochilus
- Panisea
- Pleione
- Pholidota
- Thuniinae
- Thunia
- Dendrobiinae
- Bulbophyllinae
- Bulbophyllum
- Cirrhopetalum
- Drymoda
- Epicrianthes
- Ione
- Mastigion
- Monomeria
- Rhytionanthos
- Sunipia
- Trias
- Dendrobiinae
- Dendrobium
- Epigeneium
- Flickingeria
- Epidendreae
- Adrorhizinae
- Polystachya
- Glomerinae
- Agrostophyllum
- Malaxideae
- Liparis
- Malaxis
- Oberonia
- Misfits
- Arundinae
- Arundina
- Podochileae
- Eriinae
- Ceratostylis
- Eria
- Porpax
- Trichotosia
- Podochilinae
- Appendicula
- Podochilus
- Thelasiinae
- Phreatia
- Thelasis
- Vanilleae
- Galeolinae
- Galeola
- Vanillinae
- Vanilla
- Cymbidiae
- Acriopsidinae
- Acriposis
- Bromheadiinae
- Bromheadia
- Cyrtopodiinae
- Cymbidium
- Grammatophyllum
- Eulophiinae
- Eulophia
- Geodorum
- Thecostelinae
- Thecopus
- Thecostele
- Vandeae
- Aeridinae
- Acampe
- Adenoncos
- Aerides
- Arachnis
- Armodorum
- Ascocentrum
- Brachypeza
- Cleisomeria
- Cleisostoma
- Chiloschista
- Crypopylos
- Diploprora
- Doritis
- Esmeralda
- Gastrochilus
- Grosourdya
- Holcoglossum
- Hytgrochilus
- Kingidium
- Lesliea
- Luisia
- Malleola
- Micropera
- Microsacus
- Ornithochilus
- Papilionanthe
- Pelatantheria
- Pennilabium
- Phalaenopsis
- Pomatocalpa
- Pteroceras
- Renanthera
- Renantherella
- Rhynchostylis
- Robiquetia
- Sacolabiopsis
- Sarcoglyphis
- Schoenorchis
- Seidenfadenia
- Smitinandia
- Staurochilus
- Stereochilus
- Taeniophyllum
- Thrixspermum
- Trichoglottis
- Trudelia
- Tuberolabium
- Vanda
- Vandopsis
- Ventricularia
ป้ายกำกับ:
Apostasioideae,
Cypridedioideae,
Epidendroideae,
genus,
Neottioideae,
Orchidioideae,
subfamily,
subtribe,
tribe,
Vandoideae
วันพฤหัสบดี, กุมภาพันธ์ ๒๒, ๒๕๕๐
ที่มาของคำว่ากล้วยไม้
คำว่า กล้วยไม้ ในภาษาไทย น่าจะมาจากสภาพที่ปรากฏของกล้วยไม้บางชนิด ในวงศ์ย่อย Epidendroideae บางชนิดในสกุล Dendrobium หรือสกุล Bulbophyllum ที่ขึ้นเป็นกอแน่น แล้วในหน้าแล้งทิ้งใบจนหมด เห็นแต่ลำลูกกล้วยหรือหัวเทียมที่มีลักษณะป้อมสั้น ดูแล้วเหมือนหวีกล้วย ติดอยู่ตามต้นไม้ ก็เลยเรียกเป็นกล้วยไม้
Dendrobium venustum Teijsm. & Binnend. (ท. ข้าวเหนียวลิง, เอื้องดอกมะขาม) ต้นหรือลำลูกกล้วยเหมือนลูกกล้วยเกาะเป็นกระจุกบนต้นไม้ เป็นที่มาของคำว่ากล้วยไม้
คำนี้ก็นำมาใช้ได้กับกล้วยไม้ชนิดอื่นๆ ที่ไม่ได้มีลักษณะลำต้นแบบนั้นด้วย โดยดูที่ดอกและการเกาะตามต้นไม้แบบเดียวกัน เช่น กล้วยไม้ในวงศ์ย่อย Vandoideae เช่นพวกสามปอยหรือฟ้ามุ่ย
การขยายความหมายเช่นนี้คงเกิดขึ้นทีหลัง เพราะแต่เดิมจริงๆ ในภาษาไทยน่าจะไม่ได้เรียกกล้วยไม้ ในลักษณะเป็นกลุ่มของพันธุ์ไม้อย่างที่เรียกกันในปัจจุบัน แต่เรียกเป็นเอื้อง เช่น เอื้องคำ เอื้องผึ้ง เอื้องสาย หรือเรียกชื่อต้นไม้ชนิดนั้นๆ ตรงๆ เสียมากกว่า การเรียกรวมกลุ่มเช่นนี้น่าจะมาจากแนวคิดฝรั่งจากคำว่า orchid เมื่อฝรั่งหันมานิยมเลี้ยงและสะสมกล้วยไม้ ซึ่งตอนนั้นแนวคิดด้านอนุกรมวิธานหรือ taxonomy ได้เกิดขึ้นแล้ว คือมีการเรียกต้นไม้กลุ่มนี้ว่า orchid แล้วคนไทยก็มานิยมเลี้ยงตาม ก็เลยแปลมาเป็นคำว่า กล้วยไม้ เพราะหากแปล orchid ตามความหมายภาษาอังกฤษคงจะพิลึก เพราะมันแปลว่า ไข่ หรือ อัณฑะ
Dendrobium venustum Teijsm. & Binnend. (ท. ข้าวเหนียวลิง, เอื้องดอกมะขาม) ต้นหรือลำลูกกล้วยเหมือนลูกกล้วยเกาะเป็นกระจุกบนต้นไม้ เป็นที่มาของคำว่ากล้วยไม้
คำนี้ก็นำมาใช้ได้กับกล้วยไม้ชนิดอื่นๆ ที่ไม่ได้มีลักษณะลำต้นแบบนั้นด้วย โดยดูที่ดอกและการเกาะตามต้นไม้แบบเดียวกัน เช่น กล้วยไม้ในวงศ์ย่อย Vandoideae เช่นพวกสามปอยหรือฟ้ามุ่ย
การขยายความหมายเช่นนี้คงเกิดขึ้นทีหลัง เพราะแต่เดิมจริงๆ ในภาษาไทยน่าจะไม่ได้เรียกกล้วยไม้ ในลักษณะเป็นกลุ่มของพันธุ์ไม้อย่างที่เรียกกันในปัจจุบัน แต่เรียกเป็นเอื้อง เช่น เอื้องคำ เอื้องผึ้ง เอื้องสาย หรือเรียกชื่อต้นไม้ชนิดนั้นๆ ตรงๆ เสียมากกว่า การเรียกรวมกลุ่มเช่นนี้น่าจะมาจากแนวคิดฝรั่งจากคำว่า orchid เมื่อฝรั่งหันมานิยมเลี้ยงและสะสมกล้วยไม้ ซึ่งตอนนั้นแนวคิดด้านอนุกรมวิธานหรือ taxonomy ได้เกิดขึ้นแล้ว คือมีการเรียกต้นไม้กลุ่มนี้ว่า orchid แล้วคนไทยก็มานิยมเลี้ยงตาม ก็เลยแปลมาเป็นคำว่า กล้วยไม้ เพราะหากแปล orchid ตามความหมายภาษาอังกฤษคงจะพิลึก เพราะมันแปลว่า ไข่ หรือ อัณฑะ
วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ ๑๘, ๒๕๕๐
อารัมภบท
Rhytionanthos spathulatum (Rolfe ex Cooper) Garay et al. (ท. สิงโตช้อนทอง) ชื่อไทยความหมายดี ช้อนทองเข้ามา ขอให้รวย ขอให้รวย ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ก็หมายถึงช้อนเหมือนกัน
มาเริ่มรู้จักกล้วยไม้ในธรรมชาติของไทยกันครับ ประการแรก ในที่นี้จะพูดถึงชื่อกล้วยไม้ด้วยชื่อวิทยาศาสตร์เป็นหลัก แถมด้วยชื่อพื้นเมือง เนื่องจากกล้วยไม้ไทยมีชื่อหลากหลายมากตามแต่ท้องถิ่น และกล้วยไม้ต่างชนิดกันอาจมีชื่อซ้ำกันได้มาก ซึ่งอาจทำให้คิดถึงกล้วยไม้คนละต้นคนละชนิด สับสนปนเปกันได้ง่าย แม้ชื่อวิทยาศาสตร์เองก็ยังมีการเปลี่ยนชื่อบ้าง เปลี่ยนสกุลบ้าง หรือตั้งชื่อซ้ำกันบ้าง ทำให้เกิดความสับสนได้เช่นกัน แต่ก็ยังดีที่มีการอ้างอิงทางวิชาการชัดเจน ทำให้สืบค้นความเป็นมาได้ง่าย
ในบล็อกนี้ไม่ได้เรียงตามอะไรทั้งนั้น คิดอะไรออกหรือมีอะไรที่อยากจะเขียนก็เขียนเลยครับ ถ้าต้องการเรียงลำดับก็คงต้องดูจากหัวข้อที่ตั้งในแต่ละเรื่อง และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ข้อมูลในที่นี้ไม่ใช่ข้อมูลทางวิชาการที่จะนำไปอ้างอิงได้ครับ เพราะผมไม่ใช่นักวิชาการทางด้านกล้วยไม้หรือพฤกษศาสตร์แต่อย่างใด เป็นเพียงแต่คนเลี้ยงกล้วยไม้คนหนึ่งเท่านั้น
สำหรับกล้วยไม้ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์บนหัวนี้ชื่อ Rhytionanthos spathulatum (Rolfe ex Cooper) Garay et al. หรือชื่อไทยคือ สิงโตช้อนทอง แล้วจะได้เล่าเรื่องไม้ต้นนี้ในคราวต่อๆ ไปครับ
ป้ายกำกับ:
natural orchid,
Thai,
Thailand
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)